หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กศน.ปลาปาก

โครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน


1. ชื่อปัญหาการวิจัย

สร้างชุดฝึกทักษะการใช้ภาษาไทยด้วยบทเพลง เพื่อพัฒนาการอ่าน เขียน หลักการใช้ภาษา นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของ กศน.ตำบลโคกสูง

2. ความสำคัญของปัญหา

จากการสอนผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น วิชาภาษาไทย พบว่า ผู้เรียนอ่าน เขียนผิด และใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง สาเหตุเนื่องจากนักศึกษาเป็นผู้สูงอายุ มีปัญหาในด้านสายตา (สั้น ยาว) การได้ยิน ไม่สามารถจดจำสระ พยัญชนะ เมื่อทดสอบให้อ่าน เขียนจะใช้เวลาในการจดจำสระ พยัญชนะการเขียนต้องใช้เวลาในการทบทวน ซึ่งใช้เวลานานในการอ่านและเขียน การที่นักศึกษาอ่าน เขียนและใช้หลักภาษาไทยไม่ถูกต้อง ก็จะเป็นปัญหาในการเรียนในรายวิชาอื่นๆต่อไป ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นว่าถ้าใช้กระบวนการวิจัยที่สามารถทำให้ผู้เรียนสามารถทบทวนบทเรียนที่ง่ายต่อการจดจำ สามารถสะกดคำในการอ่าน และเขียนคำต่างๆได้อย่างถูกต้องโดยผู้เรียนเองไม่เกิดความเบื่อหน่ายที่จะเรียนรู้ หากใช้วิธีการสอนแบบเดิมก็อาจจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายและท้อแท้ในการเรียนได้ ผู้วิจัยจึงได้คิดนวัตกรรมที่จะใช้แก้ไขปัญหาด้านการอ่าน เขียน และการใช้หลักภาษาไทยไม่ถูกต้อง ขึ้น

3. วัตถุประสงค์การวิจัย

3.1 เพื่อสร้างชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

3.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

4. ตัวแปรที่ศึกษา

4.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การเรียนรู้จากชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง

4.2 ตัวแปรตามได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง

5. นิยามคำศัพท์เฉพาะ

5.1 ชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง หมายถึง

5.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หมายถึง

5.3 นักศึกษา หมายถึง ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 1/53 ของ กศน.ตำบลโคกสูง ซึ่งมีปัญหาในการอ่าน เขียน และใช้หลักภาษาไม่ถูกต้อง จำนวน 10 คน


6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

6.1 ได้ชุดฝึกชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

6.2 นักศึกษามีความสามารถในการอ่านดีขึ้น

6.3 นักศึกษามีความสามารถในการเขียนดีขึ้น

6.4 นักศึกษาสามารถอ่านคำและเขียนคำในภาษาไทยได้ถูกต้องมากขึ้น

7. วิธีดำเนินการวิจัย/วิธีดำเนินการแก้ปัญหา

7.1 ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา

ประชากร คือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กศน.ตำบลโคกสูง ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 1/53 จำนวน 30 คน

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กศน.อำเภอปลาปากที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 1/53 ที่มีปัญหาในการอ่าน เขียนและใช้หลักภาษาไม่ถูกต้อง จำนวน 10 คน

7.2 เครื่องมือที่ใช้

ก. เครื่องมือแก้ปัญหา/แนวทางแก้ปัญหา คือ ชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้

1) สร้างแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน

2) สร้างชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง

- เพลง การใช้สระใอ (ไม้ม้วน)

- เพลง คำ ร ล

- เพลง คำควบกล้ำ

- เพลง คำควบไม่แท้

- เพลง การใช้ บัน บรร

- เพลง การใช้วรรณยุกต์

- เพลง การใช้ ฤ ฤๅ

- เพลง มาตราแม่กด

- เพลง คำพ้องรูป

- เพลง คำที่ใช้วิสรรชนีย์

- เพลง เรื่องคำพ้อง

- เพลง คำแผลง

- เพลง ประโยค

- เพลง คำเป็น คำตาย

ข. เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบทดสอบ แบบประเมินการอ่านและเขียน มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้

1) สร้างแบบทดสอบเพื่อวัดการอ่าน เขียน หลักการใช้ภาษา

2) แบบประเมินการอ่าน เขียน และหลักการใช้ภาษา

7.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้แบบประเมินการฝึกทักษะเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาที่มีปัญหาในการอ่าน เขียนและใช้หลักภาษาไทยไม่ถูกต้อง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 10 คน

7.4 การเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

ใช้ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ

8. แผนดำเนินการ

1) วางแผนและเขียนโครงร่าง 60 นาที/วัน

2) ปฏิบัติการตามแผน 60 นาที/วัน

3) เก็บข้อมูล 30 นาที/วัน

4) วิเคราะห์ 30 นาที/วัน

5) สรุปผลและเขียนรายงาน 60 นาที/วัน

9. ชื่อผู้เสนอโครงการวิจัย

นางอักษร คำถา ครูอาสาสมัคร กศน.อำเภอปลาปาก



โครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน

1. ชื่อปัญหาการวิจัย

การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป วิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักศึกษา กศน.ตำบลโคกสูง

2. ความสำคัญของปัญหา

จากการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของนักศึกษา กศน.ตำบลโคกสูง พบว่า ตรงกับช่วงฤดูทำนานักศึกษาส่วนใหญ่ต้องประกอบอาชีพของตนเองเป็นหลักเมื่อนัดหมายให้มาพบกลุ่มไม่สามารถมาพบกลุ่มตามกำหนดได้ ซึ่งจะเป็นปัญหาในการเรียนการสอนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ยาก หากปล่อยให้เป็นปัญหาเนิ่นนานไปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาจะต่ำหรือประเมินผลปลายภาคเรียนไม่ผ่านทำให้นักศึกษาเกิดความท้อแท้ส่งผลให้การลงทะเบียนไม่ต่อเนื่องหรืออาจขาดสอบได้

3. วัตถุประสงค์การวิจัย

3.1 เพื่อสร้างบทเรียนสำเร็จรูป วิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต 3.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น

4. ตัวแปรที่ศึกษา

ในการวิจัยในครั้งนี้ ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย

4.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

4.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป

5. นิยามคำศัพท์เฉพาะ

5.1 บทเรียนสำเร็จรูป หมายถึง

5.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หมายถึง

5.3 นักศึกษา หมายถึง ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1/53 ของ กศน.ตำบลโคกสูง จำนวน 2 คน

6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

6.1 ได้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

6.2 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิตดีขึ้น

6.3 นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิตดีขึ้น


7. วิธีดำเนินการวิจัย/วิธีดำเนินการแก้ปัญหา

7.1 ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา

ประชากร คือ นักศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น กศน.ตำบลโคกสูง หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 2 คนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1/53 โดยศึกษากับประชากรทั้งหมด

7.2 เครื่องมือที่ใช้

ก. เครื่องมือแก้ปัญหา/แนวทางแก้ปัญหา คือ บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้

1) ศึกษาข้อมูลจากสภาพปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษา

2) วิเคราะห์เนื้อหาตามหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์

3) กำหนดโครงร่างของบทเรียนสำเร็จรูป

4) เขียนสาระต่างๆของบทเรียนสำเร็จรูปตามโครงร่าง

5) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพบทเรียนสำเร็จรูป

6) ปรับปรุงบทเรียนสำเร็จรูปและจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป

ข. เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน แบบทดสอบย่อย มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้

1) ให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนตามเนื้อหาที่กำหนดให้ศึกษาจากบทเรียนสำเร็จรูป

2) ให้ศึกษาตามบทเรียนสำเร็จรูป ทำแบบทดสอบย่อยแต่ละเนื้อหาพร้อมเฉลยไปในตัว โดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง

3) ทำแบบทดสอบหลังเรียนหลังจากใช้บทเรียนสำเร็จรูป



7.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล

โดยให้นักศึกษาตอบแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป

7.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

ใช้ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย

8. แผนดำเนินการ

1) วางแผนและเขียนโครงร่าง 60 นาที/วัน

2) ปฏิบัติการตามแผน 60 นาที/วัน

3) เก็บข้อมูล 30 นาที/วัน

4) วิเคราะห์ 30 นาที/วัน

5) สรุปผลและเขียนรายงาน 60 นาที/วัน

9. ชื่อผู้เสนอโครงการวิจัย

นายพูลสวัสดิ์ คำถา ครูศรช. กศน.ตำบลโคกสูง

1 ความคิดเห็น: