หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติ กศน.ปลาปาก

ข้อมูลอำเภอปลาปาก




4.1 สภาพภูมิศาสตร์

สภาพโดยทั่วไปของอำเภอปลาปากเป็นที่ราบลุ่มสลับกับดอนป่าไม้เบญจพรรณ ซึ่งมีป่าประมาณ 40% ของพื้นที่ ลักษณะของดินเป็นลูกรังปนดินเหนี่ยว ป่าเบญจพรรณนี้เป็นที่หาของป่าของชาวบ้าน อาทิ ผักหวาน ดอกกระเจียว ไข่มดแดง แมงแคง จักจั่นและเห็ดป่าหลายชนิด เช่น เห็ดเผาะหนัง เห็ดบด เห็ดระโงก เป็นต้น ซึ่งเกิดตามฤดูกาลต่าง ๆ สามารถเก็บของป่าดังกล่าวไปขายสร้างอาชีพและรายได้ให้กับราษฎรในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง ผู้คนจึงมีคนขนานนามปลาปากว่าเป็น ดินอุดมแห่งเห็ดปา ดอกกระเจียว ไข่มดแดง แมงแคงและจักจั่น

ประวัติความเป็นมาของอำเภอปลาปาก

สถานที่ตั้งรกรากของชาวปลาปาก มีความเป็นมาของบรรพบุรุษของชาวปลาปากเดิมมีถิ่นที่อยู่ในเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เมืองมหาชัย(อยู่ในแขวงคำม่วน) ในยุคสมัยเมื่อพระยากู่แก้วเป็นเจ้าเมือง ได้ถูกพวกจีนฮ่อรุกราน เจ้าเมืองมหาชัยจึงได้นิมนต์พระหลวงพ่อสมภารและพระน้อยชายชื่อเพียรหาญ อพยพพลเมืองจำนวนหนึ่งข้ามมาฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ในเขตแดนของประเทศไทย การเดินทางครั้งนั้นได้มาขออาศัยอยู่กับเจ้าพรหมมา ซึ่งเป็นเจ้าเมืองนครพนมในขณะนั้น เจ้าพรหมมานี้เป็นบุตรของเจ้าเมืองมหาชัย เมื่ออพยพมาถึงบริเวณที่เรียกว่า ทามแคม ซึ่งเป็นบริเวณห้วยบังขนังในปัจจุบัน เห็นว่าเป็นสถานที่อุดมสมบูรณ์ด้วยเผือก มัน กลอย ปลาและมีแหล่งน้ำเหมาะสม บริบูรณ์ สำหรับการทำมาหาเลี้ยงชีพ ทั้งทำเลก็กว้างขวางจึงได้พากันสำรวจ และตั้งที่พักอาศัย แต่เนื่องจากทามแคมเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมในฤดูฝน จึงอพยพผู้คน ขึ้นไปสร้างบ้านเรือนและวัดอยู่บนที่เนินสูงใกล้เคียงกับทามแคมนั้น ซึ่งต่อมามีหลักฐานพบว่าบริเวณนั้นเป็นบ้านเรือนร้างว่างเปล่าไม่มีผู้อาศัยอยู่ วัดก็ทรุดโทรมเก่าแก่มากมีสภาพปรักหักพัง มีพระทองสัมฤทธิ์ และพระพุทธรูปเก่าแก่องค์เล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ซึ่งยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันนี้ และในวัดก็มีป้ายเป็นตัวอักษรลาวเขียนด้วยสีดำอ่านแล้วแปลความได้ว่า “วัดบ้านนาบุ่งทุ่งปลาเว้า”

วัดบ้านนาบุ่งทุ่งปลาเว้านี้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดศรีบุญเรืองเนื่องจากประชาชนได้มากราบไหว้บูชาพระทองสัมฤทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ทำให้วัดนาบุ่งทุ่งปลาเว้ามีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น และต่อมาในสมัยพระอาจารย์มหาแผลงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเมืองนครพนม จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดศรีบุญเรืองเป็นวัดคณิตศรธรรมมิการาม ในปัจจุบัน

พระทองสัมฤทธิ์ที่กล่าวถึงในตำนานนี้มีอยู่จริง และประดิษฐานอยู่ที่วัดคณิตศรธรรมมิการาม

คำว่า “เว้า” นี้เป็นภาษาท้องถิ่นซึ่งความหมายก็คือ พูด ตำนานเกี่ยวกับ ปลาเว้า มีประวัติความเป็นมาว่าบริเวณนี้ในฤดูฝนมีน้ำหลาก จึงทำให้มีปลาชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายปลา



ตะเพียนทองมารวมอยู่เป็นจำนวนมาก และส่งเสียงร้องอึงคะนึงคล้ายเสียงคนพูดกัน ชาวบ้านจึงพากันเรียกขานบริเวณแห่งนี้ว่า ปลาเว้า (ปลาพูด) คำว่า “ปาก” นี้ในภาษาถิ่นอีสานเป็นคำกริยาหมายถึง พูด ดังนั้น ปลาปากก็คือ ปลาพูด หรือ ปลาเว้านั่นเอง ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อว่า ปลาปากตั้งแต่นั้นมา

ประวัติการตั้งเป็นอำเภอปลาปาก

ปลาปากเดิมเป็นตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองนครพนม ต่อมาเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม

พ.ศ. 2507 ทางราชการได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ประกอบด้วย 3 ตำบล คือ ตำบลปลาปาก ตำบลหนองฮีและตำบลกุตาไก้ได้แต่งตั้งร้อยโทวิชัย บุญรัตนผลิน รักษาราชการในฐานะปลัดอำเภอหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอปลาปาก ต่อมาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 จึงได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอปลาปาก ประกอบด้วย 8 ตำบล ตำบลปลาปาก ตำบลหนองฮี ตำบลกุตาไก้ ตำบลนามะเขือ ตำบลโคกสูง ตำบลมหาชัย ตำบลโคกสว่าง และตำบลหนองเทาใหญ่ (ตำบลหนองเทาใหญ่ยกฐานะขึ้นเป็นตำบลเมื่อปี 2521)

ตำแหน่งที่ตั้ง

อำเภอปลาปากเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองนครพนม ห่างจากจังหวัดประมาณ 44 กิโลเมตร และห่างจากกลุ่มเทพมหานคร ประมาณ 675 กิโลเมตร

อาณาเขต

อำเภอปลาปากมีเนื้อที่ทั้งสิ้น ประมาณ 547 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 36,875 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อดังต่อไปนี้

ทิศเหนือ ติดเขตอำเภอเมืองนครพนม

ทิศตะวันตก ติดเขตอำเภอกุสุมาลย์ และอำเภอโพนนาแก้วจังหวัดสกลนคร

ทิศใต้ ติดเขตอำเภอนาแก กิ่งอำเภอวังยางและอำเภอปลาปาก

ทิศตะวันออก ติดเขตอำเภอเมืองนครพนมและอำเภอปลาปาก































ลักษณะภูมิอากาศ

ภูมิอากาศในเขตอำเภอปลาปาก แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม มีอากาศร้อนอบอ้าว

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กันยายน มีฝนตกชุก

ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นถึงหนาวจัด แห้งแล้ง และมีลมพัดแรง

การปกครอง

อำเภอปลาปาก แบ่งการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 85 หมู่บ้าน ดังนี้

1. ตำบลปลาปาก 16 หมู่บ้าน

2. ตำบลหนองฮี 12 หมู่บ้าน

3. ตำบลกุตาไก้ 12 หมู่บ้าน

4. ตำบลนามะเขือ 11 หมู่บ้าน

5. ตำบลโคกสูง 10 หมู่บ้าน

6. ตำบลมหาชัย 8 หมู่บ้าน

7. ตำบลโคกสว่าง 8 หมู่บ้าน

8. ตำบลหนองเทาใหญ่ 8 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

1. เทศบาลตำบล 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลปลาปาก

2. องค์การบริหารส่วนตำบล 8 แห่ง คือ

1) องค์การบริหารส่วนตำบลปลาปาก

2) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองฮี

3) องค์การบริหารส่วนตำบลกุตาไก้

4) องค์การบริหารส่วนตำบลนามะเขือ

5) องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสูง

6) องค์การบริหารส่วนตำบลมหาชัย

7) องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง

8) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเทาใหญ่









4.2 ลักษณะประชากร

อำเภอปลาปากมีประชากรรวมทั้งสิ้น 99,434 คน แยกเป็นชาย 49,602 คน หญิง 49,832 คน (ข้อมูล ณ เดือน กันยายน 2551)

4.3 สภาพเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ

ราษฎรชาวอำเภอปลาปากส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักทางด้านการเกษตร คือ การทำนา ทำไร่ ปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันทางราชการกำลังส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพารา นอกจากนี้ยังประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รายได้เฉลี่ยของประชากรประมาณ 27,676 บาท ต่อปี (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)

4.4 สภาพทางสังคมและวัฒนธรรมสิ่งสำคัญและสิ่งโดดเด่นในชุมชน

ชาวปลาปากส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติตามประเพณี “ฮีตสิบสองครองสิบสี่” เช่น การสืบทอดประเพณีการเลี้ยงผีปู่ตา ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา การรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ในประเพณีสงกรานต์ ประเพณีเหยา ประเพณีลงแขก บุญมหาชาติ บุญแจกข้าว บุญข้าวประดับดิน ทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ การส่งเสริมการละเล่นพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมือง คณะกลองยาวและการได้เป็นตัวแทนรำศรีโคตรบูรณ์ไปรำบูชาพระธาตุพนมในช่วงวันออกพรรษาของทุกปี

ข้อมูลสถานศึกษา กศน. อำเภอปลาปาก

ชื่อสถานศึกษา

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลาปาก ตั้งอยู่ เลขที่ 193 หมู่ที่ 1 ตำบลปลาปาก อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม รหัสไปรษณีย์ 48160 โทรศัพท์ 042 – 589095 โทรสาร 042 – 589095 เวปไซด์ :

E-mail :

ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

เมื่อ ปี พ.ศ. 2530 เดิมศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปลาปาก เป็นศูนย์ประสานงาน เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2530 โดยอาศัยเช่าบ้านของชาวบ้านในเขตบ้านปลาปาก หมู่ที่ 2 ตำบลปลาปาก อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เป็นอาคารสำนักงาน โดยมีนายวีระกุล อริญยะมาด ทำหน้าที่ผู้ประสานงานอำเภอปลาปากและมีครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนครบพื้นที่ คือ 8 คน 8 ตำบล

ปี พ.ศ. 2535-2536 ศูนย์ประสานงานการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปลาปาก ได้ย้ายจากบ้านเช่ามาตั้งสำนักงานอยู่ที่อาคารห้องพัสดุที่ว่าการอำเภอปลาปาก จนถึงปี พ.ศ. 2536 ราวประมาณเดือน กรกฎาคม ได้งบประมาณก่อสร้างห้องสมุดประชาชนอำเภอ

ปี พ.ศ. 2537 เดือนมิถุนายน ได้ย้ายจากอาคารพัสดุที่ว่าการอำเภอมาอยู่อาคารห้องสมุดประชาชน จนถึงปี พ.ศ. 2540 โดยมีนายภักดี คงปาน มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปลาปาก

ปี พ.ศ. 2540 ได้รับงบบริจาคจากนักเรียน-นักศึกษา ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า บริจาคสมทบทุนก่อสร้างอาคารสำนักงาน ภายในบริเวณเดียวกันกับห้องสมุดประชาชน

ปี พ.ศ. 2541 ได้ย้ายเอกสารสำนักงานลงมาอยู่อาคารที่สำนักงานจนถึงปัจจุบันโดยมีนายภักดี คงปาน ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปลาปาก

ปี พ.ศ. 2548 นายปราชญ์ แขวงเมือง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปลาปาก และในวันที่ 4 มีนาคม 2551 เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลาปาก

วันที่ 12 ตุลาคม 2552 นางพิชญ์สินี ปาพรหม ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลาปาก จนถึงปัจจุบัน



สังกัด

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลาปาก สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครพนม สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ



ครูและบุคลากร

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลาปาก มีบุคลากรผู้ปฏิบัติงานการศึกษานอกโรงเรียน ดังนี้

1. ผู้บริหารและข้าราชการครู 2 คน

2. บรรณารักษ์ 1 คน

3. พนักงานราชการ 4 คน

4. ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน 15 คน

รวมทั้งสิ้น 22 คน













ที่ ชื่อ - สกุล วุฒิการศึกษา ตำแหน่ง

1 นางพิชญ์สินี ปาพรหม กศ.ม บริหารการศึกษา ผอ.กศน.อ.ปลาปาก

2 นางหงษา ปักสังคะเนย์ กศ.ม บริหารการศึกษา ครูชำนาญการ

3 นางกันยารัตน์ แก้วนามไชย อนุปริญญา จพง.ห้องสมุดชำนาญงาน

4 นายอาคเนย์ อินาลา คบ. ครูอาสาสมัครฯ

5 นายประยูร ยตะโคตร คบ. ครูอาสาสมัครฯ

6 นางอักษร คำถา ศศ.บ. ครูอาสาสมัครฯ

7 นางนภัสสร วรรณขามป้อม คบ. ครูอาสาสมัครฯ

8 นายศิริชัย เหลืองศิริ คบ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

9 นางจินตนา วาชัยยุง คบ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

10 นายพูลสวัสดิ์ คำถา ศศ.บ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

11 นายสาวิตรบูรพา พ่อตาแสง คบ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

12 นางสาววิไลพร พระราจัน บธ.บ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

13 นางสาวอารยา สมสวัสดิ์ คบ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

14 นางสาวรัศมี มาแพง คบ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

15 นายวัลล์ลพ จวงจันทร์ คบ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

16 นายอภิรักษ์ คำเห็น กศ.บ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

17 นายโกเมศ โกพลรัตน์ คบ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

18

19 นางสาวจิราอร บัวสาย คบ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

20 นางสาวขวัญฤดี กิมาลี บธ.บ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน















รายชื่อคณะกรรมการสถานศึกษา

1. นายชวภณ เกตุสระ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความมั่นคง ประธานกรรมการ

2. พระครูภาวนาสุตาภรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กรรมการ

3. นายตระกูล สุขรี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม กรรมการ

4. นายวันดี ศรีสุธรรม ผู้ทรงคุณวุมิด้านการมือง การปกครอง กรรมการ

5. นายสุรพล มีหนองหว้า ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา กรรมการ

6. นายพยาทัย บัวชุม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสารสนเทศ กรรมการ

7. นายเหลือ แสงผา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น กรรมการ

8. นายไพโรจน์ คำหาญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุข กรรมการ

9. ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอปลาปาก กรรมการและเลขานุการ

10. นางกันยารัตน์ แก้วนามไชย ผู้ช่วยเลขานุการ

ศูนย์การเรียนชุมชน มีจำนวน 16 แห่ง ดังนี้

ที่ ชื่อศูนย์การเรียนชุมชน ที่ตั้ง

1 กศน.ตำบลปลาปาก บ.ปลาปาก หมู่ 2 ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก

2 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านวังสิม บ.วังสิม หมู่ 6 ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก

3 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านปลาปากน้อย บ.ปลาปากน้อย หมู่ 3 ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก

4 กศน.ตำบลโคกสว่าง บ.วังกะเบา หมู่ 4 ต.โคกสว่าง อ.ปลาปาก

5 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านโพนสวาง บ.โพนสวาง หมู่ 2 ต.โคกสว่าง อ.ปลาปาก

6 กศน.ตำบลโคกสูง บ.โคกสูง หมู่ 1 ต.โคกสูง อ.ปลาปาก

7 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านนกเหาะ บ.นกเหาะ หมู่ 8 ต.โคกสูง อ.ปลาปาก

8 กศน.ตำบลมหาชัย บ.ทันสมัย หมู่ 7 ต.มหาชัย อ.ปลาปาก

9 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านห้วยไหล่ บ.มหาชัย หมู่ 2 ต.มหาชัย อ.ปลาปาก

10 กศน.ตำบลนามะเขือ บ.แสนสำราญ หมู่ 10 ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก

11 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านหนองบัวคำ บ.หนองบัวคำ หมู่ 8 ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก

12 กศน.ตำบลกุตาไก้ บ.กุตาไก้ หมู่ 4 ต.กุตาไก้ อ.ปลาปาก

13 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านดอนดู่ บ.ดอนดู่ หมู่ 3 ต.กุตาไก้ อ.ปลาปาก

14 กศน.ตำบลหนองฮี บ.หนองฮี หมู่ 12 ต.หนองฮี อ.ปลาปาก

15 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านผักอีตู่ บ.ผักอีตู่ หมู่ 5 ต.หนองฮี อ.ปลาปาก

16 กศน.ตำบลหนองเทาใหญ่ บ.หนองเทาน้อย หมู่ 2 ต.หนองเทาใหญ่







จำนวนแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในชุมชนมี จำนวน 25 แห่ง

ที่ ชื่อแหล่งเรียนรู้ สถิติการใช้แหล่งเรียนรู้

(จำนวนครั้ง / ผู้ใช้บริการ/ปี)

1 ห้องสมุดประชาชนอำเภอปลาปาก 360/22,600

2 กศน.ตำบลปลาปาก 75/310

3 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านวังสิม 65/265

4 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านปลาปากน้อย 63/165

5 กศน.ตำบลโคกสว่าง 80/180

6 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านโพนสวาง 50/120

7 กศน.ตำบลโคกสูง 53/120

8 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านนกเหาะ 56/378

9 กศน.ตำบลมหาชัย 122/681

10 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านห้วยไหล่ 50/120

11 กศน.ตำบลนามะเขือ 48/245

12 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านหนองบัวคำ 51/182

13 กศน.ตำบลกุตาไก้ 90/170

14 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านดอนดู่ 60/170

15 กศน.ตำบลหนองฮี 25/284

16 กศน.ตำบลหนองเทาใหญ่ 43/120

17 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 16/240

18 ศูนย์ฝึกอาชีพช่างเงินช่างทอง 12/120

19 วัดหลวงปู่อวน 52/104

20 วัดพระธาตุมหาชัย 99/260

21 ศูนย์ศิลปาชีพบ้านทันสมัย 60/168

22 โครงการพระราชดำริหนองปลาค้อเฒ่า 15/225

23 ฟาร์มตัวอย่างบ้านวังกะเบา-นาสีนวล 32/184

24 โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ 50/600

25 วัดป่าอรัญญคาม (วัดป่ามหาชัย) 45/800

การวิเคราะห์ SWOT ของสถานศึกษา



การวิเคราะห์หาจุดแข็งและจุดอ่อนของสถานศึกษาโดยใช้วิธีการ SWOT ใน การตรวจสอบ เพื่อหาวิธีการที่จะทำงานให้ไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ตลอดจนหาหนทางในการควบคุมจุดอ่อนไม่ให้เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นน้อยที่สุดซึ่งจะช่วยให้สถานศึกษามีทิศทางในการทำงานและมีความมั่นใจมากขึ้น



ปัจจัยภายในสถานศึกษา

จุดแข็ง(S) จุดอ่อน(W)

ความสอดคล้องของปรัชญา พันธกิจ กลยุทธ์ กับพ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนโยบายของต้นสังกัด

การจัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของชุมชน

ผู้บริหารและบุคลากร มีความตั้งใจ ทุ่มเท ในการปฏิบัติงาน

ผู้บริหารและบุคลากรมีความพร้อมที่จะทำงาน

ผู้บริหารและบุคลากร สามารถปฏิบัติตน ทำงานกับหน่วยงานชุมชน เครือข่ายทุกภาคส่วน ได้อย่างกลมกลืน

บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

จัดกิจกรรมสร้างขวัญ และกำลังใจ ในโอกาสต่างๆ

ได้ไปศึกษาดูงาน เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ

มีสื่อ เอกสาร อุปกรณ์ และสื่อเทคโนโลยี สนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ

มีการบริหารแบบมีส่วนร่วม และมีระบบ

มีระบบการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีต่อเนื่อง

มีการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ

มีการทำงานร่วมกับเครือข่าย

มีการกำหนดบทบาท หน้าที่ของบุคลากรอย่างชัดเจน

มีการนำเทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ระบบการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษายังไม่ค่อยต่อเนื่อง

สถานศึกษาขาดการประเมินผลการใช้หลักสูตรในการพัฒนาผู้เรียนเพื่อการประกันคุณภาพของหลักสูตรที่เป็นมาตรฐาน

ครูขาดทักษะเฉพาะด้าน ในการทำหลักสูตร เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การทำแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ การวัดผล ประเมินผล การจัดทำแบบทดสอบ การออกแบบ

การเรียนรู้การออกแบบใบงาน และการทำวิจัยใน

ชั้นเรียน

บุคลากรรู้สึกไม่มั่นคงในอาชีพ เพราะเป็นตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว และมีฐานะทางเศรษฐกิจ ไม่ดี

ระบบสารสนเทศบางงานดำเนินการไม่ต่อเนื่อง

อัตรากำลังของบุคลากรไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติงาน และไม่เป็นไปตามโครงสร้าง

บุคลากรมีบทบาทหน้าที่ ภารกิจที่หลากหลาย งานด้านธุรการ การประสานงานในพื้นที่ร่วมกับชุมชนและเครือข่าย และจัดกิจกรรมในศูนย์การเรียนชุมชน และชุมชน ส่งผลให้การปฏิบัติไม่สอดคล้องกับเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนด

ปัจจัยภายนอกสถานศึกษา

โอกาส (O) อุปสรรค (T)



ชุมชน และองค์กรชุมชนเห็นความสำคัญของการศึกษา มีผู้สนับสนุนที่หลากหลายจากภาครัฐ ภาคเอกชน และศิษย์เก่า

การคมนาคมและการติดต่อสื่อสารที่สะดวก และเป็นเมืองผ่านไปทางภาคใต้ ภาคกลาง

มีทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นเอกลักษณ์ ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี

รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้

พ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ. 2542 กระจายอำนาจทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมองเห็นความสำคัญและจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นมากขึ้น

ผู้ปกครองและนักศึกษาและนักศึกษายังเห็นความสำคัญของการศึกษาในระบบมากกว่าการศึกษานอกระบบ

นโยบายของต้นสังกัดเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

นโยบายปรับลดอัตราของภาครัฐทำให้สถานศึกษาขาดแคลนบุคลากร

กลุ่มเป้าหมายไม่มีเวลาที่เรียนต่อในเวลายาวนาน เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ไม่มีอาชีพที่แน่นอนและไม่เป็นหลักแหล่ง ต้องหาเช้ากินค่ำ จึงไม่มีเวลาที่จะมาเรียน มาฝึกปฏิบัติทักษะอาชีพได้นานๆ เพราะต้องหารายได้ในการครองชีพแต่ละวัน



























เป้าหมายการจัดการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน กศน. อำเภอปลาปาก



1. ให้ผู้เรียนมีศักยภาพ ด้านการคิด วิเคราะห์ และบูรณาการให้สอดคล้องกับชีวิต ชุมชน และสังคมได้

2. ให้ผู้เรียนมีศักยภาพเพียงพอต่อการศึกษาต่อ

3. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถในการผลิตด้านการเกษตร ให้มี ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

4. พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคมได้อย่างมีความสุข ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยอนุรักษ์และสืบสานความเป็นไทยของท้องถิ่นให้คงไว้









































ทิศทางการจัดการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน



จากการที่ศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เอกสารประกอบหลักสูตร และข้อมูลความต้องการพัฒนาของจังหวัด อำเภอ ชุมชน จึงนำสิ่งที่ได้ศึกษาเหล่านี้ มาพิจารณากำหนดทิศทางการจัดการศึกษานอกระบบของสถานศึกษา โดยกำหนดโครงสร้างทิศทางการจัดศึกษา ไว้ดังนี้



ปรัชญา “คิดเป็น”

ปรัชญา “คิดเป็น” มีแนวคิดภายใต้ความเชื่อที่ว่า “คนเราสามารถพัฒนาการคิด การตัดสินใจ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้ ด้วยการฝึกทักษะการใช้ข้อมูลที่หลากหลายทั้งด้านตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และวิชาการมาวิเคราะห์ เชื่อมโยง สัมพันธ์ สร้างสรรค์ เป็นแนวทาง วิธีการ สำหรับตนเอง แล้วประเมินตีค่า ตัดสินใจเพื่อตนเอง และชุมชน สังคม ซึ่งเป็นลักษณะของคน “คิดเป็น”



วิสัยทัศน์

ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ภายในปี 2553



พันธกิจ

เพื่อให้การดำเนินงานจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นไปตามวิสัยทัศน์ และสอดคล้องกับปรัชญา “คิดเป็น” มีพันธกิจ ดังนี้

1. การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

3. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

4. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

5. การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

1 ความคิดเห็น: