หน้าเว็บ

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รายงานการดำเนินงาน

สรุปผลการดำเนินงาน กศน.ตำบลโคกสูง

ปีงบประมาณ 2553

กศน.ตำบลโคกสูง

ศูนย์การเรียนชุมชน



















ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลาปาก

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครพนม

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงศึกษาธิการ













บันทึกข้อความ

ส่วนราชการ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลาปาก

ที่ศธ 0210.3508/............... วันที่ 16 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2553

เรื่อง รายงานผลการดำเนินงาน กศน.ตำบลโคกสูง ปีงบประมาณ 2553

........................................................................................................................................................................

เรียน ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลาปาก

ด้วย กศน.ตำบลโคกสูง ได้ดำเนินการจัดทำสรุปผลการดำเนินงาน กศน.ตำบลโคกสูง ประจำปีงบประมาณ 2553 ตามบทบาทและภารกิจ กศน.ตำบล เพื่อใช้พัฒนาการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์การดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในพื้นที่ตำบลโคกสูง รายละเอียดตามเอกสารที่แนบมาพร้อมหนังสือนี้

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ





(นายพูลสวัสดิ์ คำถา)
หัวหน้า กศน.ตำบลโคกสูง





(นางอักษร คำถา)

ครูอาสาสมัครประจำตำบลโคกสูง-มหาชัย

โครงสร้างระบบบริหาร

โครงสร้างและระบบการบริหาร

นางพิชญ์สินี ปาพรหม
ผู้อำนวยการ กศน.อ.ปลาปาก


กลุ่มงานอำนวยการ
- งานธุรการ/งานบุคลากร (นางญาณิศา ปัททุม ครู ศรช.),


- งานการเงิน/บัญชี/พัสดุ

1.การเงิน (นางกันยารัตน์ แก้วนามไชย เจ้าหน้าที่ห้องสมุด 5)

2.บัญชีพัสดุ (1.นางนภัสสร วรรณขามป้อม พนักงานราชการ )

- งานแผนงาน/นโยบายและงบประมาณ
(1. นายประยูร ยตะโคตร พนักงานราชการ)


- งานประชาสัมพันธ์ (นายพูลสวัสดิ์ คำถา)

- งานข้อมูลสารสนเทศและการรายงาน (นางอักษร คำถา)

- งานนิเทศภายในติดตามและประเมินผล (พนักงานราชการทุกตำบล)

- งานอาคารถานที่ (1. นายประยูร ยตะโคตร ครู ศรช.)

- งานประกันคุณภาพภายใน (1.อักษร คำถา พนักงานราชการ)

กลุ่มจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

- งานส่งเสริมการรู้หนังสือ (พนักงานราชการรับผิดชอบทุกตำบล)


- งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (1.นางอักษร คำถา พนักงานราชการ)

- งานการศึกษาต่อเนื่อง (1.นายอาคเนย์ อินาลา พนักงานราชการ)

- งานการศึกษาตามอัธยาศัย (1.นางกันยารัตน์ แก้วนามไชย เจ้าหน้าที่ห้องสมุด 5)

- งานทะเบียนและวัดผล (1.นางกันยารัตน์ แก้วนามไชย เจ้าหน้าที่ห้องสมุด 5)

- งานศูนย์บริการให้คำปรึกษาแนะนำ (พนักงานราชการ/ ครู ศรช.ทุกตำบล)

กลุ่มภาคีเครือข่ายและกิจการพิเศษ

- งานส่งเสริมสนับสนุนภาคีเครือข่าย
(1.นางจินตนา วาชัยยุง ครู ศรช.)



- งานกิจการพิเศษ (พนักงานราชการ/ครูอาสาสมัครทุกคน)

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่างนวัตกรรม งานวิจัย

ตัวอย่างโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน


1. ชื่อปัญหาการวิจัย

สร้างชุดฝึกทักษะการใช้ภาษาไทยด้วยบทเพลง เพื่อพัฒนาการอ่าน เขียน หลักการใช้ภาษา นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของ กศน.ตำบลโคกสูง

2. ความสำคัญของปัญหา

จากการสอนผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น วิชาภาษาไทย พบว่า ผู้เรียนอ่าน เขียนผิด และใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง สาเหตุเนื่องจากนักศึกษาเป็นผู้สูงอายุ มีปัญหาในด้านสายตา (สั้น ยาว) การได้ยิน ไม่สามารถจดจำสระ พยัญชนะ เมื่อทดสอบให้อ่าน เขียนจะใช้เวลาในการจดจำสระ พยัญชนะการเขียนต้องใช้เวลาในการทบทวน ซึ่งใช้เวลานานในการอ่านและเขียน การที่นักศึกษาอ่าน เขียนและใช้หลักภาษาไทยไม่ถูกต้อง ก็จะเป็นปัญหาในการเรียนในรายวิชาอื่นๆต่อไป ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นว่าถ้าใช้กระบวนการวิจัยที่สามารถทำให้ผู้เรียนสามารถทบทวนบทเรียนที่ง่ายต่อการจดจำ สามารถสะกดคำในการอ่าน และเขียนคำต่างๆได้อย่างถูกต้องโดยผู้เรียนเองไม่เกิดความเบื่อหน่ายที่จะเรียนรู้ หากใช้วิธีการสอนแบบเดิมก็อาจจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายและท้อแท้ในการเรียนได้ ผู้วิจัยจึงได้คิดนวัตกรรมที่จะใช้แก้ไขปัญหาด้านการอ่าน เขียน และการใช้หลักภาษาไทยไม่ถูกต้อง ขึ้น

3. วัตถุประสงค์การวิจัย

3.1 เพื่อสร้างชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

3.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

4. ตัวแปรที่ศึกษา

4.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การเรียนรู้จากชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง

4.2 ตัวแปรตามได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง

5. นิยามคำศัพท์เฉพาะ

5.1 ชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง หมายถึง

5.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หมายถึง

5.3 นักศึกษา หมายถึง ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 1/53 ของ กศน.ตำบลโคกสูง ซึ่งมีปัญหาในการอ่าน เขียน และใช้หลักภาษาไม่ถูกต้อง จำนวน 10 คน


6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

6.1 ได้ชุดฝึกชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

6.2 นักศึกษามีความสามารถในการอ่านดีขึ้น

6.3 นักศึกษามีความสามารถในการเขียนดีขึ้น

6.4 นักศึกษาสามารถอ่านคำและเขียนคำในภาษาไทยได้ถูกต้องมากขึ้น

7. วิธีดำเนินการวิจัย/วิธีดำเนินการแก้ปัญหา

7.1 ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา

ประชากร คือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กศน.ตำบลโคกสูง ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 1/53 จำนวน 30 คน

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กศน.อำเภอปลาปากที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 1/53 ที่มีปัญหาในการอ่าน เขียนและใช้หลักภาษาไม่ถูกต้อง จำนวน 10 คน

7.2 เครื่องมือที่ใช้

ก. เครื่องมือแก้ปัญหา/แนวทางแก้ปัญหา คือ ชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้

1) สร้างแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน

2) สร้างชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง

- เพลง การใช้สระใอ (ไม้ม้วน)

- เพลง คำ ร ล

- เพลง คำควบกล้ำ

- เพลง คำควบไม่แท้

- เพลง การใช้ บัน บรร

- เพลง การใช้วรรณยุกต์

- เพลง การใช้ ฤ ฤๅ

- เพลง มาตราแม่กด

- เพลง คำพ้องรูป

- เพลง คำที่ใช้วิสรรชนีย์

- เพลง เรื่องคำพ้อง

- เพลง คำแผลง

- เพลง ประโยค

- เพลง คำเป็น คำตาย

ข. เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบทดสอบ แบบประเมินการอ่านและเขียน มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้

1) สร้างแบบทดสอบเพื่อวัดการอ่าน เขียน หลักการใช้ภาษา

2) แบบประเมินการอ่าน เขียน และหลักการใช้ภาษา

7.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้แบบประเมินการฝึกทักษะเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาที่มีปัญหาในการอ่าน เขียนและใช้หลักภาษาไทยไม่ถูกต้อง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 10 คน

7.4 การเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

ใช้ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ

8. แผนดำเนินการ

1) วางแผนและเขียนโครงร่าง 60 นาที/วัน

2) ปฏิบัติการตามแผน 60 นาที/วัน

3) เก็บข้อมูล 30 นาที/วัน

4) วิเคราะห์ 30 นาที/วัน

5) สรุปผลและเขียนรายงาน 60 นาที/วัน

9. ชื่อผู้เสนอโครงการวิจัย

นางอักษร คำถา ครูอาสาสมัคร กศน.อำเภอปลาปาก

ชุดฝึกทักษะการใช้ภาษาไทยด้วยบทเพลง


ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย









































ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลาปาก

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครพนม





คำชี้แจงการใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

๑. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ก่อนเริ่มฝึกจากชุดฝึก

๒. ฝึกร้องเพลงที่กำหนดให้ พร้อมสังเกตใจความของเนื้อเพลง

๓. เติมคำในช่องว่างให้สัมพันธ์กับเนื้อหา

๔. อ่านคำชี้แจงในแต่ละกิจกรรมแล้วทำตามคำสั่งในแต่ละกิจกรรมที่กำหนด

๕. ควรใช้ชุดฝึกนี้ควบคู่กับหนังสือเรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔

























































แบบทดสอบก่อนเรียน

 ให้นักศึกษาเติมคำในช่องว่างให้สัมพันธ์กับเนื้อหา

๑. คำในภาษาไทยที่ใช้สระใอ (ไม้ม้วน)มีทั้งหมด………….คำ

๒. คำในภาษาไทยที่ใช้สระใอ (ไม้ม้วน)ได้แก่…………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

 อ่านข้อความแต่ละข้อที่กำหนดให้ แล้วสังเกตการใช้ สระใอและไอ คำใดใช้ผิดให้ขีดเส้นใต้แล้วเขียนคำที่ถูกต้องไว้หลังข้อ

๑. เธอมาจากใหน รู้จักใครบ้างหรือเปล่า (……………)

๒. น้ำป่าไหลเข้าบ้านแล้ว อย่ามัวหลับไหลอยู่ (……………..)

๓. พายุใต้ฝุ่นพัดมาทางทิศใต้ (……………..)

๔. คนมีไฝบนศีรษะน่าจะไฝ่รู้ไฝ่เรียน (……………..)

๕. บ้านฉันอยู่ไกลเมือง แต่ไกล้ถนนใหญ่ (……………..)

๖. พ่อเอาตะไบถูไม้ไผ่ จะทำเรือไบ (……………..)

๗. ทิ้งน้ำลงพื้นโดยไม่ไคร่ครวญจะเกิดตะไคร่น้ำ (……………..)

๘. หน้าตาเขาไม่สดใสเพราะถูกขับใสออกจากบ้าน (……………..)

๙. แม่ค้าลำใย พูดอย่างไม่มีเยื่อใย (……………..)







แบบทดสอบก่อนเรียน

อ่านประโยคที่กำหนดให้ แล้วสังเกตคำที่ใช้ ร ล ถ้าคำใดใช้ผิดให้ขีดเส้นใต้ตรงกับคำนั้นแล้วเขียนคำที่ถูกต้องไว้ในวงเล็บ

๑. หญิงสองคนนี้อายุไร่เรี่ยกันมาเดินเรี่ยไรเงินเข้าวัด (…………….)

๒. สามี ภรรยาคู่นี้เถียงกันทุกวัน ต่างคนต่างไม่ยอมลดลาวาศอกในที่สุดก็เลิกรากันไป (…………………)

๓. นกตัวหนึ่งเกาะอยู่บนต้นไม้พอเห็นคนเดินผ่านก็บินล่องลอยไป โดยไม่ทิ้งล่องลอยไว้ให้เห็นเลย (……………….)

๔. เขาทำราดหน้าขายข้างถนนราดยาง (……………..)

๕. อย่าให้ตัวเลือดอยู่ในบ้านมันจะกินเลือดคน (…………..)

๖. เขาพูดละล่ำละลัก ก่อนร่ำลาแม่ไปเกณฑ์ทหาร (…………….)

๗. อย่ามัวพิราปรำพันอยู่ ฉันจะพาไปดูนกพิราบ (…………….)

๘. เพื่อนฉันมัวระล้าระลังอยู่จนฉันเอือมระอา (……………)

๙. พ่อไปหาปลาจะระเม็ด แต่คลื่นมาเป็นระลอกใหญ่ๆ จึงไม่สามารถ จับปลาได้ (……………)

๑๐. นกยูงลำแพนอยู่บนเสื่อลำแพน (……………..)





















จงเขียนคำควบกล้ำตามที่กำหนด ข้อละ ๕ คำ

๑. ก ควบ ล ……………………………………………………...

๒. ก ควบ ร ………………………………………………………

๓. ก ควบ ว ……………………………………………………….

๔. ค ควบ ล ……………………………………………………….

๕. ค ควบ ร ………………………………………………………..

๖. ค ควบ ว ………………………………………………………..

๗. ข ควบ ล ………………………………………………………

๘. ข ควบ ร ……………………………………………………….

๙. ข ควบ ว ……………………………………………………….

๑๐. พ ควบ ร ………………………………………………………

๑๑. พ ควบ ล ………………………………………………………

๑๒. ป ควบ ล ………………………………………………………

๑๓. ป ควบ ร ……………………………………………………….

๑๔. ต ควบ ร ……………………………………………………….

๑๕. ผ ควบ ล ……………………………………………………….

ขีดเส้นใต้คำที่เขียนผิด และเขียนคำที่ถูกต้องไว้ในวงเล็บหลังข้อ

๑. พ่อของฉันส่างไข้ เมื่อใกล้สาง (…………….)

๒. รถคันที่แซงหน้าไป ตอนนี้ไปแซกอยู่ที่เสาใต้สะพาน (……………)

๓. เขานั่งเศร้าส้อย เพราะทำสร้อยหาย (……………)

๔. ชายคนนั้นซวดซงไม่ดี จึงเดินซวนเซ (…………..)

๕. นกนั้นยังไซร้ขน เป็นคนไซร้ จงทำงาน (…………..)

๖. เด็กมีอาการซับซ้อน เพราะมีโรคอื่นแซกซ้อน (…………..)

๗. ฉันอ่านวรรณคดีบางตอนแล้วรู้สึกซาบซึ้งมาก

แต่อ่านสารคดีมากเท่าไรก็ยังไม่ซึมซาบ (……………)

๘. ร่างกายซุดโซมเพราะขาดอาหารซ่อมแซม (…………….)

๙. พราหมณ์สวมผ้าขาวเมื่อบวงสวงเทวดา (……………)

๑๐. แม่สระสางงานแล้วจึงไปสระผม (……………)



















แบบทดสอบก่อนเรียน

เติมคำที่มี บรร หรือ บัน นำหน้า ลงในช่องว่าง

๑. รถคันนั้น ……………..มะพร้าวไปเต็มคัน

๒. บ้านสองชั้นต้องมี………………ขึ้น

๓. เมื่อทำงานเสร็จควรขีดเส้นใต้ด้วยไม้……………..

๔. เขาหาความ……………จากโทรทัศน์ทุกวัน

๕. ยามที่ฉันไม่สบายมี……………เพื่อนๆมาเยี่ยมเป็นจำนวนมาก













ขีดเส้นใต้คำที่วางวรรณยุกต์ผิด แล้วเขียนคำที่ถูกต้องไว้ ในวงเล็บ

๑. บ้านยายมีกลว้ยน้ำว้าหลายตน้ (………. ..…………)

๒. พอ่ทำงานไม่หยุดยุง่จริงๆ (………. …………..)

๓. ฉันซือ้กว๋ยจั๊บมากินที่บ้าน (………. …………….)

๔. เขาชอบแก้ลงเพือ่นฉันจึงไม่ชอบเขา (………… ………….)

๕. น้อยอ้วนมากจนโนม้ตัวไม่ได้ จึงกลุม้มาก (………….. ………..)

 ขีดเส้นใต้คำที่ใช้วรรณยุกต์ผิด

๑. พี่ชายของฉันมีเสื้อเชิ๊ตสวยเก๋หลายตัว (.............................)

๒. วันนี้ฉันได้สมุดโน๊ตที่มียี่ห้อดัง (.............................)

๓. เด็กคนนั้นสวมเสื้อผ้าขาดกะรุ้งกะริ้ง (.............................)

๔. ปีนี้ฝนตกมาก น้ำท้วมทั้งปี (.............................)

๕. บ้านฉันใช้ผงชูรสอายิโน๊ะโม๊ะโต๊ะ (.............................)

๖. แม่ซื้อดอกไม้ที่ร้านแจ๋วแหว๋ว (.............................)

๗. ว๊าย! ช่วยด้วยน้องตกโต๊ะ (.............................)

๘. ฝนตกจั๊กๆ ถูกเสื้อกั้กเปียกปอน (.............................)

๙. ฉันไปถอนตะไคร้ ลื่นตะไคร้น้ำจนหกล้ม (.............................)

๑๐. แม้สุดหล่าฟ้าดิน ผมก็จะมุ่งมั่นหาเธอ (.............................)





















 เขียนคำอ่านและความหมายของคำที่กำหนดให้ต่อไปนี้

๑. พฤหัสบดี อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๒. ตฤณ อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๓. ศฤคาล อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๔. ตฤๅ อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๕. กฤษณา อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๖. ฤกษ์ อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๗. มฤตยู อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๘. มฤค อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๙. ศฤงคาร อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๑๐. ทฤษฎี อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….











 ขีดเส้นใต้คำที่ใช้ตัวสะกดในแม่กด

เมื่อวันอาทิตย์ ฉันไปเที่ยวสวนสัตว์กับญาติ ได้เห็นสัตว์ต่างๆ เช่น เต่า ราชสีห์ อูฐ นกกระจอกเทศ แรด สมเสร็จ ช้าง ชะมด ฯลฯ แล้วพวกเราก็กลับบ้านโดยรถประจำทาง

 เติมตัวสะกด แม่กด หลังคำที่กำหนด ให้ถูกต้อง

โอกา…… ประกา…….. กาชา…… รสชา……. อั........จรรย์

แกงบว…. บว….ชี ประมา…. ปรามา…. อั........จันทร์

ปริ….นา ปฤ….ฉา พิ…วง พิ….มัย กิ.......วัตร

พิ….ฐาน พิ….วา…. พิ….ดาร พิ…สง ทำวั...........

พิ…มร วันพุ….. พระพุ…… พุ….ตาน ดา........ฟ้า

ดอกพุ…. กิจวั…… พระจำวั…. โลกาภิวั….. เพ......ฌฆาต

อาวุ….. วุ….ป.6 สั…จะ ซื่อสั….ย์.

โจ…….ปัญหา โจ….จัน โจ……(ผู้ฟ้อง) พั…ดุ

ภั….ตาหาร พั….นา พั….ยศ พั……สีมา

องอา…… อา.....ญา อา…มา อา….นะ

อนุญา…… ญา….พี่น้อง ทายา….. ทนทายา….

สามาร…… สมมา……. พิฆา…… คา…..คะเน

อั…ยาศัย อั….ฌาสัย เบญจเพ….. เพ….ชาย

สมเพ…. อาเพ… อาพา…. เภ….ภัย

ฝรั่งเศ…. เศ….ขยะ สำเร็….. กำเหน็….

บา….ทะยัก บ่วงบา….. ลูกบา……. ตักบา……..

บิณฑบา…… สังเก…. เห...การณ์ ลูกเก…

ปรั….ญา ปรั….นี อั…คัด อเ น…อนา….

รั….บาล รา…ฎร เอกรา…. สัมภา……..

ผรุสวา…. ภูวนา…… น้ำมันก๊า…. ก๊า….ธรรมชาติ







อ่านประโยคที่กำหนดให้แล้วสังเกตคำพ้องรูป พร้อมทั้งเขียนคำอ่านและความหมาย

๑. ชาวนาพาโคลงเรือ เรือจึงโคลง

โคลง (๑) อ่านว่า……… ความหมาย…………………………………

โคลง (๒) อ่านว่า……… ความหมาย…………………………………

๒. จอกแหนในสระนี้เขาหวงแหนจริงๆ

แหน (๑) อ่านว่า……….ความหมาย……………………….………….

แหน (๒) อ่านว่า……….ความหมาย…………………………………...

๓. เดินทางเพลาค่ำ ใจชอกช้ำเพลารถหัก

เพลา (๑) อ่านว่า…………ความหมาย………………………………..

เพลา (๑) อ่านว่า…………ความหมาย……………………………….

๔. กำแพงใหญ่ใบเสมาไม่น่าเก่า มีเสมาขึ้นอยู่ดูไม่งาม

เสมา (๑) อ่านว่า……………ความหมาย……………………………….

เสมา (๒)อ่านว่า…………….ความหมาย……………………………….

๕. แนวป่านี้มีเสลาน่าดูนัก เหมือนสลักเสลาไว้ให้คนเห็น

เสลา (๑) อ่านว่า……………ความหมาย…………………………………

เสลา (๒) อ่านว่า……………ความหมาย…………………………………

 อ่านข้อความที่กำหนดให้แล้วเขียนคำอ่าน คำที่ขีดเส้นใต้

๑. สาวน้อยผมประบ่านัยน์ตากลม

ตากลม อ่านว่า …………………………

๒. ป่าโกงกางมีลิงแสมมากมาย

แสม อ่านว่า……………………………….

๓. ที่ริมคลองมีโสนขึ้นอยู่เรียงราย

โสนอ่านว่า………………………………

๔. หนุมานเหาะทะยานเหนือโพยม

โพยม อ่านว่า ………………………….

๕. แม่น้ำแควอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี

แคว อ่านว่า…………………………….





 อ่านและสังเกตคำที่กำหนดให้ แล้วขีดเส้นใต้คำที่ เขียนผิด

สะอาด สะดวก สะบาย สะพาน ทนุถนอม

ละเอียดละออ อะร้าอร่าม ขมักเขม้น พะยักพเยิด

สะไบ พะเน้าพะนอ กะรุ่งกะริ่ง พังทะลาย

ชตาชีวิต สนิทสนม อลุ้มอล่วย

 เลือกคำที่ถูกต้องในวงเล็บ เติมในช่องว่าง

๑. ในป่านี้มี………….มากมาย ( ชนี ชะนี )

๒. พ่อขึ้นหมากได้หลาย………… ( ทะลาย ทลาย )

๓. เพื่อนของฉันจะตีกัน ฉันจึงต้อง………กั้นไว้ (สะกัด สกัด)

๔. สี่เหลี่ยมรูปนี้มีเส้น………..มุมเท่ากัน (ทแยง ทะแยง )

๕. เครื่องบิน………..ขึ้นสู่ท้องฟ้า (ทยาน ทะยาน )

๖. ตำรวจจะไป……….แก๊งยาบ้า (ทลาย ทะลาย )

๗. เขาเป็นคนที่……..ในศักดิ์ศรี (ทะนง ทนง )

๘. ฉันชอบกิน……………( สับปรด สับปะรด)

๙. แม่จะหกล้มฉันจึง………..ตัวไว้ (พยุง พะยุง )

๑๐. พ่อเคยพาฉันไปดูหนัง……….. (ตะลุง ตลุง )

















ให้นักเรียนเลือกคำที่กำหนดให้ในวงเล็บเติมในช่องว่างให้ถูกต้อง

๑. เขาพบปะสัง ................ในงานสุข..............วันเกิด ( สันต์ สรรค์ สรร )

๒. ทุกสิ่ง..............ในงานนี้ มีสี.................สวยงาม ( สัน ศัลย์ สรรพ์)

๓. ลูกทุกคนไม่โศก............เพราะพ่อจัด...........ที่ดินให้เท่ากัน ( ศัลย์ สรร สรรค์)

๔. ฉันมีความผูก..........กับแมว............ไทยที่ฉันเลี้ยงไว้ ( พันธ์ พัน พันธุ์)

๕. การที่ชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างผลิต..............จากผลผลิตทางเกษตร ทำให้พวกเขามี

ความสัม ...............ที่ดีต่อกัน ( พันธ์ ภัณฑ์ พันธุ์)

๖. ป่าไม้เบญจ.................มีเถาวัลย์เลื้อย...........ไม้อื่นมากมาย ( พรรณ พัน พันธุ์)

๗. กุม............ตนนี้ มีผิว..................สวยงาม ( พรรณ ภัณฑ์ พันธุ์ )

๘. น้าเพาะ.............กล้าปาล์มในเดือนกุมภา............... ( พันธ์ พรรณ พันธุ์ )

๙. กลุ่มสีฟ้าต้องทำ...........รักษาความสะอาดบริ..............นี้ ( เวน เวณ เวร )

๑๐. เขาตระ...............มาดูที่ ที่ถูกรัฐบาล................คืน ( เวน เวณ เวร )

๑๑. ทุกชีวิตมี.........เท่ากัน เราจึงไม่ควร.............กัน ( ข้า ฆ่า ค่า )

๑๒. เหตุ...............ต่างๆ เกิดขึ้นตาม.................เวลา ( การ กาล การณ์ )

๑๓. แม่และพ่อไปเที่ยวเมือง...............หลังจากเสร็จภารกิจ...........งาน ( การ กาญจน์ กาล )

๑๔. พี่..........หนังสือไว้ ก่อนที่จะเดินลงบันไดทีละ............... ( คั่น ขั้น )

๑๕. แมวตัวนี้...........ตา ..........รักมาก ( น่า หน้า)

๑๖. แถบ.............โลกเหนือ ไม่มีถั่ว ...............ขาย ( ขั้ว คั่ว )

๑๗. ถึงแม้ฉันเป็นลูก................แต่ฉันก็ไม่มีอภิ.............ใดๆ ( ศิษย์ สิทธิ์ )

๑๘. พระทำ.................เย็น ก่อนจะไปจำ................. ( วัด วัตร )

๑๙. ชายคนนั้นเป็นนัก...............ที่..............เปรื่องมาก ( ปราด ปราชญ์)

๒๐. เขาเอางานจัก...............ไปขายที่..............เจ้า ( สาร สาน ศาล )













 กาเครื่องหมาย (  ) หน้าข้อที่เป็นคำแผลง กาเครื่องหมาย (  ) หน้าข้อที่ไม่เป็นคำแผลง

…….. ๑. พันธุ์ – พรรณ

……..๒. โศกา - โศกี

……..๓. นารี – สตรี

……..๔. จ่าย – จำหน่าย

……..๕. ตริ – ดำริ

……..๖. วิทยา – พิทยา

……..๗. วิหค – นก

……..๘. ศีร – เศียร

……..๙. อวย – อำนวย

…….๑๐. จง – จำนง

 เขียนคำแผลงจากคำที่กำหนดให้

๑. นาวา แผลงเป็น ……………..

๒. กราบ แผลงเป็น ……………..

๓. แข็ง แผลงเป็น ……………..

๔. แสดง แผลงเป็น ……………..

๕. ขจัด แผลงเป็น ……………..

๖. แจก แผลงเป็น …………….

๗. ครบ แผลงเป็น …………….

๘. เสร็จ แผลงเป็น …………….

๙. เดิน แผลงเป็น …………….

๑๐. ตรัส แผลงเป็น …………….



 ขีดเส้นใต้คำที่เป็น คำตาย

นอน มาก หาย ใคร จะ พบ เสีย คง ลุง

ว่าย แปลง ขาด ชม ญาติ นิด น้อย โรค สี

บาป เมฆ ฟัง กาล ภาพ เลข หาร พิษ

นาค ชม เชิญ ลีบ ขาด เกียรติ ผึ้ง เรือ

อ่อน งก บาท เปลี่ยน เรียก ป้า หมี มด



































 วงกลมล้อมรอบตัวเลขหน้าข้อที่เป็นประโยค

๑. วันนี้ฝนตกหนัก

๒. สุนัขสีดำตัวนั้น

๓. ลมพัดหวิวๆ

๔. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดช

๕. กินข้าวมูมมามเหลือเกิน

๖. ครูทำโทษนักเรียนที่ทำผิด

๗. พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก

๘. วันเพ็ญเดือนสิบสอง

๙. ปลาในแม่น้ำเจ้าพระยา

๑๐. ดอกไม้ในสวนบานสะพรั่ง

 ใช้คำที่กำหนดให้ แต่งเป็นประโยคที่สมบูรณ์

๑. มรดก - …………………………………………………………...

๒. รถยนต์ - …………………………………………………………

๓. ลำบาก - …………………………………………………………

๔. แมลง - …………………………………………………………..

๕. เช้าตรู่ - ………………………………………………………….

 เติมคำขยายประธาน กริยา หรือกรรม ลงในช่องว่าง

๑. แมลงวัน...........................ตอมขยะ.............................................

๒. เครื่องบิน...............................บิน................................................

๓. เสือ.................................ไล่กวาง...............................................

๔. ชาวประมง............................ลากอวน........................................

๕. ตำรวจ.................................จับผู้ร้าย.........................................





ชุดฝึกทักษะภาษาไทย

ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

เรื่อง การใช้สระใอ (ไม้ม้วน)

กิจกรรมที่ ๑ ฟังให้ดีมีเสียงใอ

คำชี้แจงศึกษาเพลงที่กำหนดให้ พร้อมสังเกตใจความของเนื้อเพลง แล้วฝึกร้อง

เพลงสระใอ (ไม้ม้วน)

คำร้อง ผศ.ประคอง สุทธสาร ทำนอง พม่ากลองยาว

ใคร ใครใฝ่ใจสะใภ้ยองใย (ซ้ำ) ให้ผู้ใหญ่ใช้ใบเรือของใหม่ (ซ้ำ)

ใครใคร่ ใส่ของใช้ ใกล้สิ่งใด คนใบ้ใช่หลงใหล แต่สดใส ของใช้อยู่ในทิศใต้

สระใอไม้ม้วน เชิญซิ เชิญชวนยี่สิบม้วนควรจำ

โจ๊ะ พรึม พรึม โจ๊ะ พรึม พรึม (ซ้ำ)

โอ้แม่งามขำ จำเถิดจงจำหน่อยนะคนดี (ซ้ำ)

โจ๊ะ พรึม พรึม โจ๊ะ พรึม พรึม (ซ้ำ)



กิจกรรมที่ ๒ ตอบให้ดีมีสาระ

คำชี้แจง เติมคำในช่องว่างให้สัมพันธ์กับเนื้อหา

ในบทเพลง สระใอ (ไม้ม้วน)

๑. คำในภาษาไทยที่ใช้สระใอ (ไม้ม้วน)มีทั้งหมด………….คำ

๒. คำในภาษาไทยที่ใช้สระใอ (ไม้ม้วน)ได้แก่…………………………..

………………………………………………………………………

……………………………………………………………………….

……………………………………………………………………….

……………………………………………………………………….



กิจกรรมที่ ๓ ……………



ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

เรื่อง การใช้สระใอ (ไม้ม้วน) [ ต่อ ]

กิจกรรมที่ ๓ ใช้ ใอ ให้ถูก

คำชี้แจง อ่านข้อความแต่ละข้อที่กำหนดให้ แล้วสังเกตการใช้

สระใอและไอ คำใดใช้ผิดให้ขีดเส้นใต้แล้วเขียนคำที่

ถูกต้องไว้หลังข้อ



๑. เธอมาจากใหน รู้จักใครบ้างหรือเปล่า (………… …)

๒. น้ำป่าไหลเข้าบ้านแล้ว อย่ามัวหลับไหลอยู่ (……………..)

๓. พายุใต้ฝุ่นพัดมาทางทิศใต้ (……………..)

๔. คนมีไฝบนศีรษะน่าจะไฝ่รู้ไฝ่เรียน (……………..)

๖. บ้านฉันอยู่ไกลเมือง แต่ไกล้ถนนใหญ่ (……………..)

๗. พ่อเอาตะไบถูไม้ไผ่ จะทำเรือไบ (……………..)

๘. ทิ้งน้ำลงพื้นโดยไม่ไคร่ครวญจะเกิดตะไคร่น้ำ (……………..)

๙. หน้าตาเขาไม่สดใสเพราะถูกขับใสออกจากบ้าน(……………..)

๑๐. แม่ค้าลำใย พูดอย่างไม่มีเยื่อใย (……………..)



เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน ได้………คะแนน

กิจกรรมที่ ๒ ได้ ๑๘ - ๒๑ คะแนน ดีมาก

ข้อ๑ ๑ คะแนน ได้ ๑๕ - ๑๗ คะแนน ดี

ข้อ๒ ๑๐ คะแนน ได้ ๑๑ - ๑๔ คะแนน พอใช้

กิจกรรมที่๓ ๑๐ คะแนน ได้ ๐ - ๑๐ คะแนน อ่านซ้ำ





ชุดฝึกทักษะภาษาไทย

ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

เรื่อง คำ ร ล



กิจกรรมที่ ๑ ฟังให้แตกแยกเสียง ร ล

คำชี้แจง ศึกษาเพลงที่กำหนดให้ พร้อมสังเกตคำที่ออกเสียง ร และ ล แล้วฝึกร้องและ ฝึกออกเสียงคำที่มี ร และ ล



เพลงคำ ร ล

คำร้อง ผศ.ประคอง สุทธสาร ทำนอง เพลงชวา

เริงระบำ ร้องรำเริงรมย์ เราระทมร้องเพลงเพลินใจ เป็นเสียง ร และ ล เคล้าไป ออกเสียงให้ชัดเจน ร ล ลม ล้อเลียน เหลิงลอย ลีลา ครวญคร่ำมาคลุกคลี รีรอ ใครร้องเพลงเสียงกรอ กริ๊ก กรอ ร และ ล เคล้าไปในเพลง ลา ล้า ลา ล้า ลา ร ล ลา ล้า ลา ล้า ลา ร ล ลา ล้า ลา ล้า ลา ร . ล ลา ล้า ลา ล้า ลา.ร ล ลา ล้า ลา ล้า ลา ร ล





กิจกรรมที่ ๒ ฝึกอ่านบทร้อยกรองต่อไปนี้ โดยออกเสียง ร ลให้ชัดเจน

รีบเร่งไปโรงเรียน เพื่อนล้อเลียนยามลุกลน

กรีดกรายคลายกังวล เพราะทุกคนได้ร้องรำ

กีฬาพาเพลิดเพลิน วิ่งเล่นเดินอย่าเพลี่ยงพล้ำ

ปราดเปรียวเดี๋ยวคะมำ อย่ากรายกล้ำเรื่องซุกซน





กิจกรรมที่ ๓ ……..



กิจกรรมที่ ๓ อ่านประโยคที่กำหนดให้ แล้วสังเกตคำที่ใช้ ร ล ถ้าคำใดใช้ผิด

ให้ขีดเส้นใต้ตรงกับคำนั้นแล้วเขียนคำที่ถูกต้องไว้ในวงเล็บ

๑. หญิงสองคนนี้อายุไร่เรี่ยกันมาเดินเรี่ยไรเงินเข้าวัด (…………….)

๒. สามี ภรรยาคู่นี้เถียงกันทุกวัน ต่างคนต่างไม่ยอมลดลาวาศอก

ในที่สุดก็เลิกรากันไป (…………………)

๓. นกตัวหนึ่งเกาะอยู่บนต้นไม้พอเห็นคนเดินผ่านก็บินล่องลอยไป

โดยไม่ทิ้งล่องลอยไว้ให้เห็นเลย (……………….)

๔. เขาทำราดหน้าขายข้างถนนราดยาง (……………..)

๕. อย่าให้ตัวเลือดอยู่ในบ้านมันจะกินเลือดคน (…………..)

๖. เขาพูดละล่ำละลัก ก่อนร่ำลาแม่ไปเกณฑ์ทหาร (…………….)

๗. อย่ามัวพิราปรำพันอยู่ ฉันจะพาไปดูนกพิราบ (…………….)

๘. เพื่อนฉันมัวระล้าระลังอยู่จนฉันเอือมระอา (……………)

๙. พ่อไปหาปลาจะระเม็ด แต่คลื่นมาเป็นระลอกใหญ่ๆ จึงไม่สามารถ

จับปลาได้ (……………)

๑๐. นกยูงลำแพนอยู่บนเสื่อลำแพน (……………..)



เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินได้……………คะแนน

กิจกรรมที่ ๒

คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน ๒๕ - ๓๐ คะแนน ดีมาก

อ่านออกเสียงผิด ๑ ที่ หัก ๑ คะแนน ๒๐ - ๒๕ คะแนน ดี

กิจกรรมที่ ๓ ๑๕ - ๑๙ คะแนน พอใช้

คะแนนเต็ม ๒๐ คะแนน ๐ - ๑๔ คะแนน ปรับปรุง

ขีดเส้นใต้คำถูกต้อง ๑ คะแนน

แก้คำผิดได้ถูกต้อง ๒ คะแนน





ชุดฝึกทักษะภาษาไทย

ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

เรื่อง คำควบกล้ำ



กิจกรรมที่ ๑ ฟังให้ดี มีเสียงควบกล้ำ

คำชี้แจง ศึกษาเพลงที่กำหนดให้พร้อมสังเกตคำที่มีเสียงควบกล้ำ แล้วฝึกร้อง



เพลงคำควบกล้ำ

คำร้อง ผศ.ประคอง สุทธสาร ทำนอง แม่สะเรียง

เรียมคลั่งไคล้ กวัดแกว่งไกวเกลียวกลม ไขว่คว้าตรอมตรม อกระบมหมองมัว ปกครองป้องกัน ปราบปราม ผิดความ เคลื่อนคลาด หวาดกลัว อกสั่นระรัว ร้างแรมห่างไกล โอ้แม่ขวัญใจ เคลียคลอ คำควบกล้ำนี่หนอ ขอเราช่วยกันจรรโลงให้ดี (ซ้ำ)



กิจกรรมที่ ๒ หาคำควบกล้ำจากเนื้อเพลงแล้วเขียนลงในช่องว่างที่

กำหนดให้ข้างล่างนี้

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………





กิจกรรมที่ ๓ ………………





กิจกรรมที่ ๓ จงเขียนคำควบกล้ำตามที่กำหนด ข้อละ ๕ คำ

๑. ก ควบ ล ……………………………………………………...

๒. ก ควบ ร ………………………………………………………

๓. ก ควบ ว ……………………………………………………….

๔. ค ควบ ล ……………………………………………………….

๕. ค ควบ ร ………………………………………………………..

๖. ค ควบ ว ………………………………………………………..

๗. ข ควบ ล ………………………………………………………

๘. ข ควบ ร ……………………………………………………….

๙. ข ควบ ว ……………………………………………………….

๑๐. พ ควบ ร ………………………………………………………

๑๑. พ ควบ ล ………………………………………………………

๑๒. ป ควบ ล ………………………………………………………

๑๓. ป ควบ ร ……………………………………………………….

๑๔. ต ควบ ร ……………………………………………………….

๑๕. ผ ควบ ล ……………………………………………………….















ชุดฝึกทักษะภาษาไทย

ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

เรื่อง คำควบไม่แท้

กิจกรรมที่ ๑ ฟังให้ดี ไม่มีเสียง ร

คำชี้แจง ฟังเพลงที่กำหนดให้ จากครู เพื่อน หรือแถบบันทึกเสียง

พร้อมสังเกตคำควบที่ไม่ออกเสียง ร แล้วฝึกร้องให้คล่อง



เพลงคำควบไม่แท้

คำร้อง ผศ.ประคอง สุทธสาร ทำนอง แร้งกระพือปีก

พวกเรารู้ไหมคำควบใดไม่แท้เอย โอ้แม่ทรามเชย ทราย ทรวดทรง ทราบ ทราม อินทรี คำเหล่านี้ออกเสียงเหมือน ซ แต่ ท ร ควบกันทันใด แล้วทำไมใช้เสียงตัว ซ นอดทิงนองนอย ชะ นอดทิงนองนอย (ซ้ำ)

แต่น่าแปลกใจ เสริม สร้าง เศร้า ไซร้ ไม่ออกเสียง ร นี่แหละหนอคำควบของไทย เร็ว ๆ ไว ๆ คิดดูดีดี นอดทิงนองนอย ชะ นอดทิงนองนอย

กิจกรรมที่ ๒ เลือกคำควบไม่แท้จากเนื้อเพลง พร้อมเขียนคำอ่าน ๑๐ คำ

๑. …………………….. อ่านว่า ………………………….

๒. …………………….. อ่านว่า ………………………….

๓. …………………….. อ่านว่า ………………………….

๔. …………………….. อ่านว่า ………………………….

๕. …………………….. อ่านว่า ………………………….

๖. …………………….. อ่านว่า ………………………….

๗. …………………….. อ่านว่า ………………………….

๘. …………………….. อ่านว่า ………………………….

๙. …………………….. อ่านว่า ………………………….

๑๐. …………………….. อ่านว่า ………………………….



กิจกรรมที่ ๓ ขีดเส้นใต้คำที่เขียนผิด และเขียนคำที่ถูกต้องไว้ในวงเล็บ

หลังข้อ

๑. พ่อของฉันส่างไข้ เมื่อใกล้สาง (…………….)

๒. รถคันที่แซงหน้าไป ตอนนี้ไปแซกอยู่ที่เสาใต้สะพาน (……………)

๓. เขานั่งเศร้าส้อย เพราะทำสร้อยหาย (……………)

๔. ชายคนนั้นซวดซงไม่ดี จึงเดินซวนเซ (…………..)

๕. นกนั้นยังไซร้ขน เป็นคนไซร้ จงทำงาน (…………..)

๖. เด็กมีอาการซับซ้อน เพราะมีโรคอื่นแซกซ้อน (…………..)

๗. ฉันอ่านวรรณคดีบางตอนแล้วรู้สึกซาบซึ้งมาก

แต่อ่านสารคดีมากเท่าไรก็ยังไม่ซึมซาบ (……………)

๘. ร่างกายซุดโซมเพราะขาดอาหารซ่อมแซม (…………….)

๙. พราหมณ์สวมผ้าขาวเมื่อบวงสวงเทวดา (……………)

๑๐. แม่สระสางงานแล้วจึงไปสระผม (……………)





เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินได้ …………….คะแนน

กิจกรรมที่ ๒ ได้ ๓๖ - ๔๐ คะแนน ดีมาก

เขียนถูก คำละ ๑ คะแนน ได้ ๓๐ - ๓๕ คะแนน ดี

อ่านถูก คำละ ๑ คะแนน ได้ ๒๐ - ๒๙ คะแนน พอใช้

กิจกรรมที่ ๓ ได้ ๐ - ๑๙ คะแนน ปรับปรุง

ขีดเส้นใต้ถูก ข้อละ ๑ คะแนน

เขียนใหม่ถูกต้อง ข้อละ ๑ คะแนน











ชุดฝึกทักษะภาษาไทย

ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

การใช้ บัน บรร

กิจกรรมที่ ๑ ฟังให้แตกแยกเสียง บัน บรร

คำชี้แจง ฟังเพลงที่กำหนดให้ จากครู เพื่อน หรือแถบบันทึกเสียง

พร้อมสังเกตคำที่ใช้ บัน และ บรร แล้วฝึกร้องให้จำได้





เพลงคำบัน บรร

คำร้อง ผศ.ประคอง สุทธสาร ทำนอง เขมรคำปอ

คำ บัน นี้เขาว่ามีห้าคำ จงโปรดจำ เอาไว้ให้ดี ว่า บัน มี ว่า บัน มี ห้าคำ นะเพื่อนเอย มีห้าคำ (ซ้ำ)

เช่น บันดาล และบันทึก ให้ดี บันเทิงมี บันลือดัง เราจงฟัง เราจงฟัง บันได นะเพื่อนเอย นะเพื่อนเอย มีหลายคำ (ซ้ำ)

นอกจากนี้เขาว่ามีคำ บรร บรรเจิดพลัน บรรทุกไกล บรรจุไซร้ บรรจุไซร้ บรรดา นะเพื่อนเอย มีหลายคำ (ซ้ำ)

กิจกรรมที่ ๒ เติมคำที่มี บรร หรือ บัน นำหน้า ลงในช่องว่าง

๑. รถคันนั้น ……………..มะพร้าวไปเต็มคัน

๒. บ้านสองชั้นต้องมี………………ขึ้น

๓. เมื่อทำงานเสร็จควรขีดเส้นใต้ด้วยไม้……………..

๔. เขาหาความ……………จากโทรทัศน์ทุกวัน

๕. ยามที่ฉันไม่สบายมี……………เพื่อนๆมาเยี่ยมเป็นจำนวนมาก

เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินได้ …………คะแนน

เติมคำถูกต้องข้อละ ๑ คะแนน ได้ ๕ คะแนน ดีมาก ได้ ๔ คะแนน ดี

ได้ ๓ คะแนน พอใช้ ได้ ๐ - ๒ คะแนน ปรับปรุง



ชุดฝึกทักษะภาษาไทย

ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

การใช้วรรณยุกต์

กิจกรรมที่ ๑ ฟังให้ดีมีเสียงสูง ต่ำ

คำชี้แจง ฟังเพลงที่กำหนดให้ จากครู เพื่อน หรือแถบบันทึกเสียง

แล้วฝึกร้องจดจำเนื้อเพลง





เพลงวรรณยุกต์

คำร้อง อ.สุจินต์ ชวนชื่น ทำนอง ลาวลำปาง

เด็กไทยเราเอย หนูเคยเรียนรู้เรื่องคำไทย จำได้ไหม เสียงนั้นต่างไป มากมี วรรณยุกต์ นั้นกำหนดชี้ สี่รูป หนูเอยจำมั่น ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี ไงนั่น อีกจัตวา เขียนไว้ไหนกัน อ๋อ บนพยัญชนะต้นคำ

เด็กไทยเราเอย หนูเคยเรียนรู้เรื่องคำไทย อยากจำขึ้นใจ หนูจงรีบไปท่องจำ วรรณยุกต์ ห้าเสียง อย่าซ้ำ แรกนำด้วยเสียงสามัญ เอก โท ตรี แล้วจัตวาไงนั่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า เรียงกัน หนูจำให้มั่นเรื่องวรรณยุกต์ไทย





กิจกรรมที่ ๒ ขีดเส้นใต้คำที่วางวรรณยุกต์ผิด แล้วเขียนคำที่ถูกต้องไว้

ในวงเล็บ

๑. บ้านยายมีกลว้ยน้ำว้าหลายตน้ (………. ..…………)

๒. พอ่ทำงานไม่หยุดยุง่จริงๆ (………. …………..)

๓. ฉันซือ้กว๋ยจั๊บมากินที่บ้าน (………. …………….)

๔. เขาชอบแก้ลงเพือ่นฉันจึงไม่ชอบเขา (………… ………….)

๕. น้อยอ้วนมากจนโนม้ตัวไม่ได้ จึงกลุม้มาก (………….. ………..)







กิจกรรมที่ ๓ ขีดเส้นใต้คำที่ใช้วรรณยุกต์ผิด

๑. พี่ชายของฉันมีเสื้อเชิ๊ตสวยเก๋หลายตัว (.............................)

๒. วันนี้ฉันได้สมุดโน๊ตที่มียี่ห้อดัง (.............................)

๓. เด็กคนนั้นสวมเสื้อผ้าขาดกะรุ้งกะริ้ง (.............................)

๔. ปีนี้ฝนตกมาก น้ำท้วมทั้งปี (.............................)

๕. บ้านฉันใช้ผงชูรสอายิโน๊ะโม๊ะโต๊ะ (.............................)

๖. แม่ซื้อดอกไม้ที่ร้านแจ๋วแหว๋ว (.............................)

๗. ว๊าย! ช่วยด้วยน้องตกโต๊ะ (.............................)

๘. ฝนตกจั๊กๆ ถูกเสื้อกั้กเปียกปอน (.............................)

๙. ฉันไปถอนตะไคร้ ลื่นตะไคร้น้ำจนหกล้ม (.............................)

๑๐. แม้สุดหล่าฟ้าดิน ผมก็จะมุ่งมั่นหาเธอ (.............................)

































กิจกรรมที่ ๑ ฟังให้แตกแยกเสียง ร ล

คำชี้แจง ศึกษาเพลงที่กำหนดให้ พร้อมสังเกตคำที่ออกเสียง ร และ ล แล้วฝึกร้องและ ฝึกออกเสียงคำที่มี ร และ ล

เพลงไตรยางค์

คำร้อง ผศ.ประคอง สุทธสาร ทำนอง Rasa Sayang

จงจำไว้เธอจ๋า เวลาเรียนอักษรไตรยางค์ พยัญชนะมีเสียงต่าง ๆ จึงจัดวางสามหมู่นะเธอ อย่าละเมอเผลอไผล เสียงสูงไซร้ มีสิบเอ็ดตัว เสียงกลางนั้นอย่าได้เมามัว มีเค้าตัวเสียงออกง่ายดาย อักษรที่เหลือนั้นเสียงของมันต่ำกว่าใคร ๆ เขาจัดไว้ได้ยี่สิบสี่ จำให้ดีนะนี่ไตรยางค์

ไข่ ขวด ฉิ่ง ถุง ฐาน ผึ้ง ฝา ศาล ฤาษี และเสือ ห หีบนั้นเข้ามาจุนเจือ เมื่อครบครันนั่นสิบเอ็ดตัว

ไก่ และ จาน เด็กนั้น เดินตามกันอีก เต่า ชฎา ทั้งปฏัก ใบไม้ ป ปลา อ่างนั้นมาครบเก้าพอดี

อักษรที่เหลือนั้น คิดเร็วพลัน ควาย คู่ ระฆัง ยักษ์ ลิง เรือ โซ่มีพลัง ญ หญิง ยังมีอีกมากมา



























ชุดฝึกทักษะภาษาไทย

ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

การใช้ ฤ ฤๅ





กิจกรรมที่ ๑ ฟังให้ดี ริ รึ เรอ

คำชี้แจง ศึกษาเพลงที่กำหนดให้

พร้อมสังเกต ฤ ซึ่งออกเสียงได้ทั้ง รึ ริ หรือ เรอ แล้วฝึกร้อง

เพลงให้ได้



เพลงสระ ฤ ฤๅ

คำร้อง ผศ.ประคอง สุทธสาร ทำนอง แร้งกระพือปีก

สระไทยไทยที่แปลกไปคือ ฤ. ฤๅ เราควรยึดถือ ออกเสียง รือ คือ ฤๅษี ส่วนตัว ฤ มีหลักมากมาย ออกเสียงไปไม่มีแปรปรวน ประพฤติ ดวงฤดี พฤหัสบดี นอดทิงนองนอย ชะ นอดทิงนองนอย หากออกเสียง ริ มีอยู่หลายคำ อังกฤษ ทฤษฎี กฤษฎา ทั้งคำ ฤทธี ทุกคำมี เสียง ริ อย่าลืม นอดทิงนองนอย ชะ นอดทิงนองนอย

สระ ฤ ไซร้ที่แปลกไป ออกเสียง เรอ หากใครใครเจอ อย่าเผลอให้เรรวน เช่น ดาวฤกษ์ที่อยู่บนฟ้า จำเถิดหนา ให้ออกเสียงเรอ เมื่อใดเจอต้องคิดดูดีดี นอดทิงนองนอย ชะ นอดทิงนองนอย



กิจกรรมที่ ๒ เขียนคำที่กำหนดให้

๑. คำที่มี ฤ ออกเสียง รึ ( หา๗คำ) ………………………………………..

…………………………………………………………………………………………..

๒. คำที่มี ฤ ออกเสียง ริ ( หา ๗ คำ ) ……………………………………..

………………………………………………………………………………………

๓. คำที่มี ฤ ออกเสียง เรอ ( มี ๑ คำ ) ………………………………………



กิจกรรมที่ ๓ เขียนคำอ่านและความหมายของคำที่กำหนดให้ต่อไปนี้

๑. พฤหัสบดี อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๒. ตฤณ อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๓. ศฤคาล อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๔. ตฤๅ อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๕. กฤษณา อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๖. ฤกษ์ อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๗. มฤตยู อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๘. มฤค อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๙. ศฤงคาร อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

๑๐. ทฤษฎี อ่านว่า ………………………………………………………….

ความหมาย …………………………………………………….

เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินได้ ………..คะแนน

กิจกรรมที่ ๒ เขียนได้ถูกต้อง ได้ ๓๐ - ๓๕ คะแนน ดีมาก

คำละ ๑ คะแนน ได้ ๒๕ - ๒๙ คะแนน ดี

กิจกรรมที่ ๓ ข้อละ ๒ คะแนน ได้ ๑๘ - ๒๔ คะแนน พอใช้

ได้ น้อยกว่า ๑๘ คะแนน ปรับปรุง





ชุดฝึกทักษะภาษาไทย

ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

มาตราแม่กด





กิจกรรมที่ ๑ ฟังให้ดีมีแม่กด

คำชี้แจง ศึกษาเพลงที่กำหนดให้

พร้อมสังเกตพยัญชนะที่ใช้สะกดในแม่กดแล้วฝึกร้อง

เพลงจดจำเนื้อร้อง





เพลงมาตราแม่กด

คำร้อง ผศ.ประคอง สุทธสาร ทำนอง สามัคคีชุมนุม

มาตราสะกด แม่กด จำไว้ให้หมดสิบแปดตัวมี จ จาน ฉ ฉิ่ง เข้าที ช ช้าง เร็วรี่ อีก ฌ เฌอ ซ โซ่ ฎ ชฎา ฏ ปฏัก ช่างงามน่ารัก ฑ นางมณโฑ ฒ เฒ่า ฐ ฐาน ใหญ่โต ด เด็กมากโข เดินโซ ต เต่า ท ทหาร ถ ถุง ธ ธง ต่างมุ่งหน้าตรง ยัง ศ ศาลา (ส) เสือร้ายอยู่ในพนา ท่านมีเมตตา (ษ) ฤๅษีอยู่ไพร

มาตราสะกดแม่กด จำไว้ให้หมดสิบแปดตัวนี้ มาท่องเร็วไวเข้าซี อย่าได้รอรีจำให้ขึ้นใจ





กิจกรรมที่ ๒ ขีดเส้นใต้คำที่ใช้ตัวสะกดในแม่กด

เมื่อวันอาทิตย์ ฉันไปเที่ยวสวนสัตว์กับญาติ ได้เห็นสัตว์ต่างๆ เช่น เต่า ราชสีห์ อูฐ นกกระจอกเทศ แรด สมเสร็จ ช้าง ชะมด ฯลฯ แล้วพวกเราก็กลับบ้านโดยรถประจำทาง

กิจกรรมที่ ๓ …………




กิจกรรมที่ ๓ เติมตัวสะกด แม่กด หลังคำที่กำหนด ให้ถูกต้อง



โอกา…… ประกา…….. กาชา…… รสชา……. อั........จรรย์

แกงบว…. บว….ชี ประมา…. ปรามา…. อั........จันทร์

ปริ….นา ปฤ….ฉา พิ…วง พิ….มัย กิ.......วัตร

พิ….ฐาน พิ….วา…. พิ….ดาร พิ…สง ทำวั...........

พิ…มร วันพุ….. พระพุ…… พุ….ตาน ดา........ฟ้า

ดอกพุ…. กิจวั…… พระจำวั…. โลกาภิวั….. เพ......ฌฆาต

อาวุ….. วุ….ป.6 สั…จะ ซื่อสั….ย์.

โจ…….ปัญหา โจ….จัน โจ……(ผู้ฟ้อง) พั…ดุ

ภั….ตาหาร พั….นา พั….ยศ พั……สีมา

องอา…… อา.....ญา อา…มา อา….นะ

อนุญา…… ญา….พี่น้อง ทายา….. ทนทายา….

สามาร…… สมมา……. พิฆา…… คา…..คะเน

อั…ยาศัย อั….ฌาสัย เบญจเพ….. เพ….ชาย

สมเพ…. อาเพ… อาพา…. เภ….ภัย

ฝรั่งเศ…. เศ….ขยะ สำเร็….. กำเหน็….

บา….ทะยัก บ่วงบา….. ลูกบา……. ตักบา……..

บิณฑบา…… สังเก…. เห...การณ์ ลูกเก…

ปรั….ญา ปรั….นี อั…คัด อเ น…อนา….

รั….บาล รา…ฎร เอกรา…. สัมภา……..

ผรุสวา…. ภูวนา…… น้ำมันก๊า…. ก๊า….ธรรมชาติ

เกณฑ์การประเมิน ผลการประเมิน ได้….คะแนน

กิจกรรมที่๒ ขีดเส้นใต้ถูกต้อง ได้ ๘๐ - ๑๐๐ คะแนน ดีมาก

ข้อละ ๑ คะแนน ได้ ๖๖ - ๗๙ คะแนน ดี

กิจกรรมที่ ๓ เติมตัวสะกดถูกต้อง ได้ ๕๐ - ๖๕ คะแนน ข้อละ ๑ คะแนน

ได้น้อยกว่า ๕๐ คะแนน ปรับปรุง

ชุดฝึกทักษะภาษาไทย

ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

คำพ้องรูป

กิจกรรมที่ ๑ เขียนเหมือนกันเสียงนั้นต่างไป

คำชี้แจง ศึกษาเพลงที่กำหนดให้พร้อมสังเกตคำที่เขียนเหมือนกัน แต่ออกเสียงและมี

ความหมายไม่เหมือนกัน

เพลงคำพ้องรูป

คำร้อง อ.สุจินต์ ชวนชื่น ทำนองเพลง ชวา

คำพ้องรูป เขียนรูปเหมือนกัน ความหมายมันผันเวียนเพี้ยนไป เป็นหลายคำสำเนียงเสียงใด อ่านแล้วไม่เหมือนกันขันดี

เพลารถยนต์ พักเพลาเย็น เสลาเป็น เสลาทันที โคลงเรือ เรือโคลงเคลงซี จอกแหนมี แหนมาเร็วไว ลา ล้า ลา ล้าลา ลา ลา………..(ซ้ำ 4 ครั้ง)



กิจกรรมที่ ๒ อ่านประโยคที่กำหนดให้แล้วสังเกตคำพ้องรูป พร้อมทั้ง

เขียนคำอ่านและความหมาย

๑. ชาวนาพาโคลงเรือ เรือจึงโคลง

โคลง (๑) อ่านว่า……… ความหมาย…………………………………

โคลง (๒) อ่านว่า……… ความหมาย…………………………………

๒. จอกแหนในสระนี้เขาหวงแหนจริงๆ

แหน (๑) อ่านว่า……….ความหมาย……………………….………….

แหน (๒) อ่านว่า……….ความหมาย…………………………………...

๓. เดินทางเพลาค่ำ ใจชอกช้ำเพลารถหัก

เพลา (๑) อ่านว่า…………ความหมาย………………………………..

เพลา (๑) อ่านว่า…………ความหมาย……………………………….

๔. กำแพงใหญ่ใบเสมาไม่น่าเก่า มีเสมาขึ้นอยู่ดูไม่งาม

เสมา (๑) อ่านว่า……………ความหมาย……………………………….

เสมา (๒)อ่านว่า…………….ความหมาย……………………………….

๕. แนวป่านี้มีเสลาน่าดูนัก เหมือนสลักเสลาไว้ให้คนเห็น

เสลา (๑) อ่านว่า……………ความหมาย…………………………………

เสลา (๒) อ่านว่า……………ความหมาย…………………………………

กิจกรรมที่ ๓ อ่านข้อความที่กำหนดให้แล้วเขียนคำอ่าน คำที่ขีดเส้นใต้

๑. สาวน้อยผมประบ่านัยน์ตากลม

ตากลม อ่านว่า …………………………

๒. ป่าโกงกางมีลิงแสมมากมาย

แสม อ่านว่า……………………………….

๓. ที่ริมคลองมีโสนขึ้นอยู่เรียงราย

โสนอ่านว่า………………………………

๔. หนุมานเหาะทะยานเหนือโพยม

โพยม อ่านว่า ………………………….

๕. แม่น้ำแควอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี

แคว อ่านว่า…………………………….





เกณฑ์การให้คะแนน ผลการประเมินได้ ………คะแนน

กิจกรรมที่ ๒ อ่านถูก คำละ ๑ คะแนน ได้ ๑๔ - ๑๕ คะแนน ดีมาก

บอกความหมายถูก คำละ ๑ คะแนน ได้ ๑๒ - ๑๓ คะแนน ดี

กิจกรรมที่ ๓ อ่านถูก คำละ ๑ คะแนน ได้ ๘ - ๑๑ คะแนน พอใช้

ได้น้อยกว่า ๘ คะแนน ปรับปรุง



















ชุดฝึกทักษะภาษาไทย

ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

คำที่ใช้วิสรรชนีย์

กิจกรรมที่ ๑ ฟังให้ดีที่เสียง อะ

คำชี้แจง ศึกษาเพลงที่กำหนดให้

พร้อมสังเกตคำที่ออกเสียงอะ แล้วฝึกร้องจำเนื้อเพลงให้ได้



เพลงวิสรรชนีย์

คำร้อง ผศ.ประคอง สุทธสาร ทำนอง พม่ากลองยาว

มาเร็วเร็วไวไว วิสรรชนีย์ (ซ้ำ) จงดูดูให้ดีมีเสียงอะ (ซ้ำ) คำไทย แขก พม่า นั้นอย่าละ ทั้งจีน ฝรั่ง ญวน นั้นอย่าละ คำนี้ต้องประวิสรรชนีย์ เช่น กะลาสี สับปะรด ชะตาดี อีกฉะนี้ และชะลอม โจ๊ะพรึม พรึมโจ๊ะ พรึมพรึม (ซ้ำ)

ขะมุกขะมอม คะนึง คะนอง กับฉะนั้น และชะนี โจ๊ะพรึม พรึมโจ๊ะ พรึมพรึม (ซ้ำ)

มาเร็วเร็วไวไว วิสรรชนีย์ (ซ้ำ) จงดูดูให้ดีมีเสียงอะ (ซ้ำ) อักษรนำ คำโบราณ คำแผลงนะ หลายคำที่คุณหนูต้องจำนะ คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ เช่น คำ ทนาย กบฎ

ชโลมใจ สนุกไซร้ และแสดง โจ๊ะพรึม พรึมโจ๊ะ พรึมพรึม (ซ้ำ)

เราไม่หน่ายแหนง ชอุ่ม และทแยง ขมุกขมัว และขโมย โจ๊ะพรึม พรึมโจ๊ะ พรึมพรึม (ซ้ำ)



กิจกรรมที่ ๒ อ่านและสังเกตคำที่กำหนดให้ แล้วขีดเส้นใต้คำที่

เขียนผิด

สะอาด สะดวก สะบาย สะพาน ทนุถนอม

ละเอียดละออ อะร้าอร่าม ขมักเขม้น พะยักพเยิด

สะไบ พะเน้าพะนอ กะรุ่งกะริ่ง พังทะลาย

ชตาชีวิต สนิทสนม อลุ้มอล่วย



กิจกรรมที่ ๓ เลือกคำที่ถูกต้องในวงเล็บ เติมในช่องว่าง

๑. ในป่านี้มี………….มากมาย ( ชนี ชะนี )

๒. พ่อขึ้นหมากได้หลาย………… ( ทะลาย ทลาย )

๓. เพื่อนของฉันจะตีกัน ฉันจึงต้อง………กั้นไว้ (สะกัด สกัด)

๔. สี่เหลี่ยมรูปนี้มีเส้น………..มุมเท่ากัน (ทแยง ทะแยง )

๕. เครื่องบิน………..ขึ้นสู่ท้องฟ้า (ทยาน ทะยาน )

๖. ตำรวจจะไป……….แก๊งยาบ้า (ทลาย ทะลาย )

๗. เขาเป็นคนที่……..ในศักดิ์ศรี (ทะนง ทนง )

๘. ฉันชอบกิน……………( สับปรด สับปะรด)

๙. แม่จะหกล้มฉันจึง………..ตัวไว้ (พยุง พะยุง )

๑๐. พ่อเคยพาฉันไปดูหนัง……….. (ตะลุง ตลุง )





เกณฑ์การให้คะแนน ผลการประเมิน ได้………คะแนน

กิจกรรมที่ ๒ ขีดเส้นใต้คำถูกต้อง ได้ ๑๘ - ๒๐ คะแนน ดีมาก

คำละ ๑ คะแนน ได้ ๑๔ - ๑๗ คะแนน ดี

กิจกรรมที่ ๓ เลือกคำถูกต้อง ได้ ๑๐ - ๑๓ คะแนน พอใช้

คำละ ๑ คะแนน ได้ น้อยกว่า ๑๐ คะแนน ปรับปรุง





















ชุดฝึกทักษะภาษาไทย

ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

เรื่องคำพ้อง

กิจกรรมที่ ๑ ฟังให้ดีมีคำพ้อง

คำชี้แจง ศึกษาเพลงที่กำหนดให้ พร้อมสังเกตลักษณะคำพ้อง และฝึกร้องจดจำเนื้อเพลง



เพลงคำพ้อง

คำร้อง ……………………… ทำนอง ปูไข่ไก่หลง

พ้องเสียงเสียงเหมือนกัน ความหมายนั้นแตกต่างไป เช่นมานนั้นคือใจ ถ้าดอกไม้ใช้ว่ามาลย์ สิ่งชั่วน่ากลัวนัก หรือตัวยักษ์เรียกว่ามาร พินิจคิดให้นาน ฟังผ่าน ๆ เสียการเอย

พ้องรูปรูปเดียวกัน ความหมายนั้นอ่านผิดเพี้ยน เพลามาโรงเรียน เขานั่งเกวียนเพลาหักเอย พ้องทั้งรูปและเสียง ความหมายเพียงแตกต่างไป เช่นฉลาดเลิศเหนือใคร อีกฉลาดไซร้ชื่อปลาเอย

พ้องความหมายสำคัญ เพราะต่างกันทั้งรูปเสียง จะดูรู้ก็เพียง สังเกตจากความหมายคำ มาลีและผกา บุษบางามเลิศล้ำ โกสุมสวยคมขำ ความหมายซ้ำดอกไม้เอย



กิจกรรมที่ ๒ เขียนคำพ้องตามที่กำหนด

๑. คำพ้องเสียง เช่น มาร – มาน เขียนมา ๕ คู่

……………… ………………..

……………… ………………..

……………… ………………..

……………… ……………….

……………… ……………….



๒. คำพ้องรูป เช่น แหน – แหน เขียนมา ๕ คู่

……………… ………………..

……………… ………………..

……………… ………………..

……………… ………………..

……………… ………………..



๓. คำพ้องความหมาย เช่น บุปผา – มาลี (ดอกไม้)

เขียนมา ๕ คู่

……………… ………………..

……………… ………………..

……………… ……………….

……………… ………………..

……………… …………………



เกณฑ์การให้คะแนน ผลการประเมินได้………คะแนน

เขียนได้ถูกต้องตามกำหนด ได้ ๑๓ - ๑๕ คะแนน ดีมาก

คู่ละ ๑ คะแนน ได้ ๑๐ - ๑๒ คะแนน ดี

ได้ ๘ - ๙ คะแนน พอใช้

ได้น้อยกว่า ๘ คะแนน ปรับปรุง









กิจกรรมที่ ๓ ฝึกเขียนเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนสามารถเขียนคำพ้องเสียงได้ถูกต้อง

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำที่กำหนดให้ในวงเล็บเติมในช่องว่างให้ถูกต้อง



๑. เขาพบปะสัง ................ในงานสุข..............วันเกิด ( สันต์ สรรค์ สรร )

๒. ทุกสิ่ง..............ในงานนี้ มีสี.................สวยงาม ( สัน ศัลย์ สรรพ์)

๓. ลูกทุกคนไม่โศก............เพราะพ่อจัด...........ที่ดินให้เท่ากัน ( ศัลย์ สรร สรรค์)

๔. ฉันมีความผูก..........กับแมว............ไทยที่ฉันเลี้ยงไว้ ( พันธ์ พัน พันธุ์)

๕. การที่ชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างผลิต..............จากผลผลิตทางเกษตร ทำให้พวกเขามี

ความสัม ...............ที่ดีต่อกัน ( พันธ์ ภัณฑ์ พันธุ์)

๖. ป่าไม้เบญจ.................มีเถาวัลย์เลื้อย...........ไม้อื่นมากมาย ( พรรณ พัน พันธุ์)

๗. กุม............ตนนี้ มีผิว..................สวยงาม ( พรรณ ภัณฑ์ พันธุ์ )

๘. น้าเพาะ.............กล้าปาล์มในเดือนกุมภา............... ( พันธ์ พรรณ พันธุ์ )

๙. กลุ่มสีฟ้าต้องทำ...........รักษาความสะอาดบริ..............นี้ ( เวน เวณ เวร )

๑๐. เขาตระ...............มาดูที่ ที่ถูกรัฐบาล................คืน ( เวน เวณ เวร )

๑๑. ทุกชีวิตมี.........เท่ากัน เราจึงไม่ควร.............กัน ( ข้า ฆ่า ค่า )

๑๒. เหตุ...............ต่างๆ เกิดขึ้นตาม.................เวลา ( การ กาล การณ์ )

๑๓. แม่และพ่อไปเที่ยวเมือง...............หลังจากเสร็จภารกิจ...........งาน ( การ กาญจน์ กาล )

๑๔. พี่..........หนังสือไว้ ก่อนที่จะเดินลงบันไดทีละ............... ( คั่น ขั้น )

๑๕. แมวตัวนี้...........ตา ..........รักมาก ( น่า หน้า)

๑๖. แถบ.............โลกเหนือ ไม่มีถั่ว ...............ขาย ( ขั้ว คั่ว )

๑๗. ถึงแม้ฉันเป็นลูก................แต่ฉันก็ไม่มีอภิ.............ใดๆ ( ศิษย์ สิทธิ์ )

๑๘. พระทำ.................เย็น ก่อนจะไปจำ................. ( วัด วัตร )

๑๙. ชายคนนั้นเป็นนัก...............ที่..............เปรื่องมาก ( ปราด ปราชญ์)

๒๐. เขาเอางานจัก...............ไปขายที่..............เจ้า ( สาร สาน ศาล )



ชุดฝึกทักษะภาษาไทย

ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

คำแผลง

กิจกรรมที่ ๑ ฟังให้ดี ใช้ให้เป็น

คำชี้แจง ฟังเพลงที่กำหนดให้ จากครู เพื่อน หรือแถบบันทึกเสียง

พร้อมสังเกตลักษณะคำแผลง



เพลงคำแผลง

คำร้อง ……………………. ทำนอง เกษตรเขาหล่อจริง

คำแผลงมีสามชนิด คิดคิดแล้วน่าสนุก แผลงสระพยัญชนะวรรณยุกต์ ไทยรักสนุกชอบดัดแปลง ไทแผลงเป็นไท้ คำแหงไซร้มาจากแข็ง คนไทยชอบพลิกแพลง (ซ้ำ) ชอบแสดงความเป็นกวี วิเศษเป็นพิเศษ โปรดสังเกตดูดีดี ธาราเป็นธารี (ซ้ำ)

คำแผลงนี้น่าเรียนเอย



กิจกรรมที่ ๒ กาเครื่องหมาย (  ) หน้าข้อที่เป็นคำแผลง

กาเครื่องหมาย (  ) หน้าข้อที่ไม่เป็นคำแผลง

…….. ๑. พันธุ์ – พรรณ

……..๒. โศกา - โศกี

……..๓. นารี – สตรี

……..๔. จ่าย – จำหน่าย

……..๕. ตริ – ดำริ

……..๖. วิทยา – พิทยา

……..๗. วิหค – นก

……..๘. ศีร – เศียร

……..๙. อวย – อำนวย

…….๑๐. จง – จำนง

กิจกรรมที่ ๓ เขียนคำแผลงจากคำที่กำหนดให้

๑. นาวา แผลงเป็น ……………..

๒. กราบ แผลงเป็น ……………..

๓. แข็ง แผลงเป็น ……………..

๔. แสดง แผลงเป็น ……………..

๕. ขจัด แผลงเป็น ……………..

๖. แจก แผลงเป็น …………….

๗. ครบ แผลงเป็น …………….

๘. เสร็จ แผลงเป็น …………….

๙. เดิน แผลงเป็น …………….

๑๐. ตรัส แผลงเป็น …………….



เกณฑ์การให้คะแนน ผลการประเมินได้ ……….คะแนน

กิจกรรมที่ ๒ กาเครื่องหมายถูกต้อง ได้ ๑๘ – ๒๐ คะแนน ดีมาก

ข้อละ ๑ คะแนน ได้ ๑๔ - ๑๖ คะแนน ดี

กิจกรรมที่ ๓ เติมคำถูกต้อง ได้ ๑๐ - ๑๓ คะแนน พอใช้

ข้อละ ๑ คะแนน ได้ต่ำกว่า ๑๐ คะแนน ปรับปรุง





















ชุดฝึกทักษะภาษาไทย

ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

คำเป็น คำตาย



กิจกรรมที่ ๑ ฟังให้ดีมีคำเป็นและคำตาย

คำชี้แจง ฟังเพลงที่กำหนดให้ จากครู เพื่อน หรือแถบบันทึกเสียง

พร้อมสังเกตลักษณะคำเป็น และคำตาย พร้อมฝึกร้อง

จดจำเนื้อเพลง





เพลงคำเป็นคำตาย

คำร้อง …………………….. ทำนอง ตาอินตานา

คำเป็นกับคำตาย มากมายให้ใช้ต่างกัน เจ้าคำเป็นนั้น เสียงมันออกได้ง่ายดาย กง กน กม เกอว เกย อย่าเฉยเมยสระเสียงยาว จำไว้นะเจ้า คำไทยเรานั้นไว้ใช้พูดจา

คำตายอีกหนึ่งนั้น หมายถึง กก กด กบ นา เสียงสั้นนั้นหนา จำไว้ว่าคือคำตาย คำเป็นกับคำตาย ท่องง่ายจำไม่ยากเลย หนูจ๋าอย่าละเลย จำไว้เอยคำเป็นคำตาย



กิจกรรมที่ ๒ ขีดเส้นใต้คำที่เป็น คำตาย

นอน มาก หาย ใคร จะ พบ เสีย คง ลุง

ว่าย แปลง ขาด ชม ญาติ นิด น้อย โรค สี

บาป เมฆ ฟัง กาล ภาพ เลข หาร พิษ

นาค ชม เชิญ ลีบ ขาด เกียรติ ผึ้ง เรือ

อ่อน งก บาท เปลี่ยน เรียก ป้า หมี มด

เกณฑ์การให้คะแนน ผลการประเมินได้……..คะแนน

ขีดเส้นใต้ถูกต้อง ได้ ๑๘ – ๒๐ คะแนน ดีมาก ได้ ๑๔ - ๑๖ คะแนน ดี

ข้อละ ๑ คะแนน ได้ ๑๐ - ๑๓ คะแนน พอใช้ ได้ต่ำกว่า ๑๐ คะแนน ปรับปรุง

ชุดฝึกทักษะภาษาไทย

ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ

เรื่องประโยค

กิจกรรมที่ ๑ ฟังเพลงที่กำหนดให้ จากครู เพื่อน หรือแถบบันทึกเสียง

พร้อมสังเกตลักษณะประโยค และฝึกร้องเพลง



เพลงประโยค

คำร้อง …………………….. ทำนอง มะลิลา

(สร้อย) ลาเอ๋ยลา ขึ้นต้นอะไรก็ได้ แต่ลงสุดท้ายเป็นสระอา

ประโยคนั้นคือข้อความ (ซ้ำ) ที่งดงามฟังได้ความยิ่งหนา (สร้อย)

ให้รู้ว่ามีใคร (ซ้ำ) เขาทำอะไร จำไว้เถิดวา (สร้อย)

ตัวอย่างเช่น นักเรียนฟัง (ซ้ำ) คนนั่งบนถัง น่าชังยิ่งนา (สร้อย)

ประโยค แบ่งเป็นสองภาค (ซ้ำ) ไม่เห็นจะยาก ภาคประธาน นำมา (สร้อย)

ภาคสอง คือ ภาคแสดง (ซ้ำ) ขอจงได้แจ้งแห่งในวิญญา (สร้อย)



กิจกรรมที่ ๒ วงกลมล้อมรอบตัวเลขหน้าข้อที่เป็นประโยค

๑. วันนี้ฝนตกหนัก

๒. สุนัขสีดำตัวนั้น

๓. ลมพัดหวิวๆ

๔. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดช

๕. กินข้าวมูมมามเหลือเกิน

๖. ครูทำโทษนักเรียนที่ทำผิด

๗. พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก

๘. วันเพ็ญเดือนสิบสอง

๙. ปลาในแม่น้ำเจ้าพระยา

๑๐. ดอกไม้ในสวนบานสะพรั่ง



กิจกรรมที่ ๓ เติมประธานและกริยาลงในช่องว่าง

๑. ……….ตัวใหญ่กำลัง……………อยู่ในทุ่งนา

๒. ……….หลายคน ................ของขึ้นรถบรรทุก

๓. ............๒ ตัว..............เกวียนไปตามถนน

๔. ............แสนโง่ ................น้ำค้างตามคำบอกเล่าของจิ้งหรีด

๕. .........................สีขาว ..................ปลาไปกิน

กิจกรรมที่ ๔ เติมคำขยายประธาน กริยา หรือกรรม ลงในช่องว่าง

๑. แมลงวัน...........................ตอมขยะ.............................................

๒. เครื่องบิน...............................บิน................................................

๓. เสือ.................................ไล่กวาง...............................................

๔. ชาวประมง............................ลากอวน........................................

๕. ตำรวจ.................................จับผู้ร้าย.........................................



กิจกรรมที่ ๔ ใช้คำที่กำหนดให้ แต่งเป็นประโยคที่สมบูรณ์

๑. มรดก - …………………………………………………………...

๒. รถยนต์ - …………………………………………………………

๓. ลำบาก - …………………………………………………………

๔. แมลง - …………………………………………………………..

๕. เช้าตรู่ - ………………………………………………………….

ประวัติ กศน.ปลาปาก

ข้อมูลอำเภอปลาปาก




4.1 สภาพภูมิศาสตร์

สภาพโดยทั่วไปของอำเภอปลาปากเป็นที่ราบลุ่มสลับกับดอนป่าไม้เบญจพรรณ ซึ่งมีป่าประมาณ 40% ของพื้นที่ ลักษณะของดินเป็นลูกรังปนดินเหนี่ยว ป่าเบญจพรรณนี้เป็นที่หาของป่าของชาวบ้าน อาทิ ผักหวาน ดอกกระเจียว ไข่มดแดง แมงแคง จักจั่นและเห็ดป่าหลายชนิด เช่น เห็ดเผาะหนัง เห็ดบด เห็ดระโงก เป็นต้น ซึ่งเกิดตามฤดูกาลต่าง ๆ สามารถเก็บของป่าดังกล่าวไปขายสร้างอาชีพและรายได้ให้กับราษฎรในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่ง ผู้คนจึงมีคนขนานนามปลาปากว่าเป็น ดินอุดมแห่งเห็ดปา ดอกกระเจียว ไข่มดแดง แมงแคงและจักจั่น

ประวัติความเป็นมาของอำเภอปลาปาก

สถานที่ตั้งรกรากของชาวปลาปาก มีความเป็นมาของบรรพบุรุษของชาวปลาปากเดิมมีถิ่นที่อยู่ในเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เมืองมหาชัย(อยู่ในแขวงคำม่วน) ในยุคสมัยเมื่อพระยากู่แก้วเป็นเจ้าเมือง ได้ถูกพวกจีนฮ่อรุกราน เจ้าเมืองมหาชัยจึงได้นิมนต์พระหลวงพ่อสมภารและพระน้อยชายชื่อเพียรหาญ อพยพพลเมืองจำนวนหนึ่งข้ามมาฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ในเขตแดนของประเทศไทย การเดินทางครั้งนั้นได้มาขออาศัยอยู่กับเจ้าพรหมมา ซึ่งเป็นเจ้าเมืองนครพนมในขณะนั้น เจ้าพรหมมานี้เป็นบุตรของเจ้าเมืองมหาชัย เมื่ออพยพมาถึงบริเวณที่เรียกว่า ทามแคม ซึ่งเป็นบริเวณห้วยบังขนังในปัจจุบัน เห็นว่าเป็นสถานที่อุดมสมบูรณ์ด้วยเผือก มัน กลอย ปลาและมีแหล่งน้ำเหมาะสม บริบูรณ์ สำหรับการทำมาหาเลี้ยงชีพ ทั้งทำเลก็กว้างขวางจึงได้พากันสำรวจ และตั้งที่พักอาศัย แต่เนื่องจากทามแคมเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมในฤดูฝน จึงอพยพผู้คน ขึ้นไปสร้างบ้านเรือนและวัดอยู่บนที่เนินสูงใกล้เคียงกับทามแคมนั้น ซึ่งต่อมามีหลักฐานพบว่าบริเวณนั้นเป็นบ้านเรือนร้างว่างเปล่าไม่มีผู้อาศัยอยู่ วัดก็ทรุดโทรมเก่าแก่มากมีสภาพปรักหักพัง มีพระทองสัมฤทธิ์ และพระพุทธรูปเก่าแก่องค์เล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ซึ่งยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันนี้ และในวัดก็มีป้ายเป็นตัวอักษรลาวเขียนด้วยสีดำอ่านแล้วแปลความได้ว่า “วัดบ้านนาบุ่งทุ่งปลาเว้า”

วัดบ้านนาบุ่งทุ่งปลาเว้านี้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดศรีบุญเรืองเนื่องจากประชาชนได้มากราบไหว้บูชาพระทองสัมฤทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ทำให้วัดนาบุ่งทุ่งปลาเว้ามีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น และต่อมาในสมัยพระอาจารย์มหาแผลงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอเมืองนครพนม จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดศรีบุญเรืองเป็นวัดคณิตศรธรรมมิการาม ในปัจจุบัน

พระทองสัมฤทธิ์ที่กล่าวถึงในตำนานนี้มีอยู่จริง และประดิษฐานอยู่ที่วัดคณิตศรธรรมมิการาม

คำว่า “เว้า” นี้เป็นภาษาท้องถิ่นซึ่งความหมายก็คือ พูด ตำนานเกี่ยวกับ ปลาเว้า มีประวัติความเป็นมาว่าบริเวณนี้ในฤดูฝนมีน้ำหลาก จึงทำให้มีปลาชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายปลา



ตะเพียนทองมารวมอยู่เป็นจำนวนมาก และส่งเสียงร้องอึงคะนึงคล้ายเสียงคนพูดกัน ชาวบ้านจึงพากันเรียกขานบริเวณแห่งนี้ว่า ปลาเว้า (ปลาพูด) คำว่า “ปาก” นี้ในภาษาถิ่นอีสานเป็นคำกริยาหมายถึง พูด ดังนั้น ปลาปากก็คือ ปลาพูด หรือ ปลาเว้านั่นเอง ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อว่า ปลาปากตั้งแต่นั้นมา

ประวัติการตั้งเป็นอำเภอปลาปาก

ปลาปากเดิมเป็นตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองนครพนม ต่อมาเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม

พ.ศ. 2507 ทางราชการได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ประกอบด้วย 3 ตำบล คือ ตำบลปลาปาก ตำบลหนองฮีและตำบลกุตาไก้ได้แต่งตั้งร้อยโทวิชัย บุญรัตนผลิน รักษาราชการในฐานะปลัดอำเภอหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอปลาปาก ต่อมาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 จึงได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอปลาปาก ประกอบด้วย 8 ตำบล ตำบลปลาปาก ตำบลหนองฮี ตำบลกุตาไก้ ตำบลนามะเขือ ตำบลโคกสูง ตำบลมหาชัย ตำบลโคกสว่าง และตำบลหนองเทาใหญ่ (ตำบลหนองเทาใหญ่ยกฐานะขึ้นเป็นตำบลเมื่อปี 2521)

ตำแหน่งที่ตั้ง

อำเภอปลาปากเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองนครพนม ห่างจากจังหวัดประมาณ 44 กิโลเมตร และห่างจากกลุ่มเทพมหานคร ประมาณ 675 กิโลเมตร

อาณาเขต

อำเภอปลาปากมีเนื้อที่ทั้งสิ้น ประมาณ 547 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 36,875 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อดังต่อไปนี้

ทิศเหนือ ติดเขตอำเภอเมืองนครพนม

ทิศตะวันตก ติดเขตอำเภอกุสุมาลย์ และอำเภอโพนนาแก้วจังหวัดสกลนคร

ทิศใต้ ติดเขตอำเภอนาแก กิ่งอำเภอวังยางและอำเภอปลาปาก

ทิศตะวันออก ติดเขตอำเภอเมืองนครพนมและอำเภอปลาปาก































ลักษณะภูมิอากาศ

ภูมิอากาศในเขตอำเภอปลาปาก แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม – พฤษภาคม มีอากาศร้อนอบอ้าว

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กันยายน มีฝนตกชุก

ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นถึงหนาวจัด แห้งแล้ง และมีลมพัดแรง

การปกครอง

อำเภอปลาปาก แบ่งการปกครองออกเป็น 8 ตำบล 85 หมู่บ้าน ดังนี้

1. ตำบลปลาปาก 16 หมู่บ้าน

2. ตำบลหนองฮี 12 หมู่บ้าน

3. ตำบลกุตาไก้ 12 หมู่บ้าน

4. ตำบลนามะเขือ 11 หมู่บ้าน

5. ตำบลโคกสูง 10 หมู่บ้าน

6. ตำบลมหาชัย 8 หมู่บ้าน

7. ตำบลโคกสว่าง 8 หมู่บ้าน

8. ตำบลหนองเทาใหญ่ 8 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

1. เทศบาลตำบล 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลปลาปาก

2. องค์การบริหารส่วนตำบล 8 แห่ง คือ

1) องค์การบริหารส่วนตำบลปลาปาก

2) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองฮี

3) องค์การบริหารส่วนตำบลกุตาไก้

4) องค์การบริหารส่วนตำบลนามะเขือ

5) องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสูง

6) องค์การบริหารส่วนตำบลมหาชัย

7) องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง

8) องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเทาใหญ่









4.2 ลักษณะประชากร

อำเภอปลาปากมีประชากรรวมทั้งสิ้น 99,434 คน แยกเป็นชาย 49,602 คน หญิง 49,832 คน (ข้อมูล ณ เดือน กันยายน 2551)

4.3 สภาพเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ

ราษฎรชาวอำเภอปลาปากส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักทางด้านการเกษตร คือ การทำนา ทำไร่ ปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันทางราชการกำลังส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพารา นอกจากนี้ยังประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รายได้เฉลี่ยของประชากรประมาณ 27,676 บาท ต่อปี (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2550)

4.4 สภาพทางสังคมและวัฒนธรรมสิ่งสำคัญและสิ่งโดดเด่นในชุมชน

ชาวปลาปากส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติตามประเพณี “ฮีตสิบสองครองสิบสี่” เช่น การสืบทอดประเพณีการเลี้ยงผีปู่ตา ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา การรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ในประเพณีสงกรานต์ ประเพณีเหยา ประเพณีลงแขก บุญมหาชาติ บุญแจกข้าว บุญข้าวประดับดิน ทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ การส่งเสริมการละเล่นพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมือง คณะกลองยาวและการได้เป็นตัวแทนรำศรีโคตรบูรณ์ไปรำบูชาพระธาตุพนมในช่วงวันออกพรรษาของทุกปี

ข้อมูลสถานศึกษา กศน. อำเภอปลาปาก

ชื่อสถานศึกษา

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลาปาก ตั้งอยู่ เลขที่ 193 หมู่ที่ 1 ตำบลปลาปาก อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม รหัสไปรษณีย์ 48160 โทรศัพท์ 042 – 589095 โทรสาร 042 – 589095 เวปไซด์ :

E-mail :

ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา

เมื่อ ปี พ.ศ. 2530 เดิมศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปลาปาก เป็นศูนย์ประสานงาน เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2530 โดยอาศัยเช่าบ้านของชาวบ้านในเขตบ้านปลาปาก หมู่ที่ 2 ตำบลปลาปาก อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เป็นอาคารสำนักงาน โดยมีนายวีระกุล อริญยะมาด ทำหน้าที่ผู้ประสานงานอำเภอปลาปากและมีครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนครบพื้นที่ คือ 8 คน 8 ตำบล

ปี พ.ศ. 2535-2536 ศูนย์ประสานงานการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปลาปาก ได้ย้ายจากบ้านเช่ามาตั้งสำนักงานอยู่ที่อาคารห้องพัสดุที่ว่าการอำเภอปลาปาก จนถึงปี พ.ศ. 2536 ราวประมาณเดือน กรกฎาคม ได้งบประมาณก่อสร้างห้องสมุดประชาชนอำเภอ

ปี พ.ศ. 2537 เดือนมิถุนายน ได้ย้ายจากอาคารพัสดุที่ว่าการอำเภอมาอยู่อาคารห้องสมุดประชาชน จนถึงปี พ.ศ. 2540 โดยมีนายภักดี คงปาน มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปลาปาก

ปี พ.ศ. 2540 ได้รับงบบริจาคจากนักเรียน-นักศึกษา ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า บริจาคสมทบทุนก่อสร้างอาคารสำนักงาน ภายในบริเวณเดียวกันกับห้องสมุดประชาชน

ปี พ.ศ. 2541 ได้ย้ายเอกสารสำนักงานลงมาอยู่อาคารที่สำนักงานจนถึงปัจจุบันโดยมีนายภักดี คงปาน ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปลาปาก

ปี พ.ศ. 2548 นายปราชญ์ แขวงเมือง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปลาปาก และในวันที่ 4 มีนาคม 2551 เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลาปาก

วันที่ 12 ตุลาคม 2552 นางพิชญ์สินี ปาพรหม ย้ายมาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลาปาก จนถึงปัจจุบัน



สังกัด

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลาปาก สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครพนม สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ



ครูและบุคลากร

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปลาปาก มีบุคลากรผู้ปฏิบัติงานการศึกษานอกโรงเรียน ดังนี้

1. ผู้บริหารและข้าราชการครู 2 คน

2. บรรณารักษ์ 1 คน

3. พนักงานราชการ 4 คน

4. ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน 15 คน

รวมทั้งสิ้น 22 คน













ที่ ชื่อ - สกุล วุฒิการศึกษา ตำแหน่ง

1 นางพิชญ์สินี ปาพรหม กศ.ม บริหารการศึกษา ผอ.กศน.อ.ปลาปาก

2 นางหงษา ปักสังคะเนย์ กศ.ม บริหารการศึกษา ครูชำนาญการ

3 นางกันยารัตน์ แก้วนามไชย อนุปริญญา จพง.ห้องสมุดชำนาญงาน

4 นายอาคเนย์ อินาลา คบ. ครูอาสาสมัครฯ

5 นายประยูร ยตะโคตร คบ. ครูอาสาสมัครฯ

6 นางอักษร คำถา ศศ.บ. ครูอาสาสมัครฯ

7 นางนภัสสร วรรณขามป้อม คบ. ครูอาสาสมัครฯ

8 นายศิริชัย เหลืองศิริ คบ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

9 นางจินตนา วาชัยยุง คบ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

10 นายพูลสวัสดิ์ คำถา ศศ.บ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

11 นายสาวิตรบูรพา พ่อตาแสง คบ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

12 นางสาววิไลพร พระราจัน บธ.บ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

13 นางสาวอารยา สมสวัสดิ์ คบ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

14 นางสาวรัศมี มาแพง คบ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

15 นายวัลล์ลพ จวงจันทร์ คบ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

16 นายอภิรักษ์ คำเห็น กศ.บ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

17 นายโกเมศ โกพลรัตน์ คบ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

18

19 นางสาวจิราอร บัวสาย คบ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน

20 นางสาวขวัญฤดี กิมาลี บธ.บ. ครูศูนย์การเรียนชุมชน















รายชื่อคณะกรรมการสถานศึกษา

1. นายชวภณ เกตุสระ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความมั่นคง ประธานกรรมการ

2. พระครูภาวนาสุตาภรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กรรมการ

3. นายตระกูล สุขรี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม กรรมการ

4. นายวันดี ศรีสุธรรม ผู้ทรงคุณวุมิด้านการมือง การปกครอง กรรมการ

5. นายสุรพล มีหนองหว้า ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา กรรมการ

6. นายพยาทัย บัวชุม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสารสนเทศ กรรมการ

7. นายเหลือ แสงผา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น กรรมการ

8. นายไพโรจน์ คำหาญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุข กรรมการ

9. ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอปลาปาก กรรมการและเลขานุการ

10. นางกันยารัตน์ แก้วนามไชย ผู้ช่วยเลขานุการ

ศูนย์การเรียนชุมชน มีจำนวน 16 แห่ง ดังนี้

ที่ ชื่อศูนย์การเรียนชุมชน ที่ตั้ง

1 กศน.ตำบลปลาปาก บ.ปลาปาก หมู่ 2 ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก

2 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านวังสิม บ.วังสิม หมู่ 6 ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก

3 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านปลาปากน้อย บ.ปลาปากน้อย หมู่ 3 ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก

4 กศน.ตำบลโคกสว่าง บ.วังกะเบา หมู่ 4 ต.โคกสว่าง อ.ปลาปาก

5 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านโพนสวาง บ.โพนสวาง หมู่ 2 ต.โคกสว่าง อ.ปลาปาก

6 กศน.ตำบลโคกสูง บ.โคกสูง หมู่ 1 ต.โคกสูง อ.ปลาปาก

7 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านนกเหาะ บ.นกเหาะ หมู่ 8 ต.โคกสูง อ.ปลาปาก

8 กศน.ตำบลมหาชัย บ.ทันสมัย หมู่ 7 ต.มหาชัย อ.ปลาปาก

9 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านห้วยไหล่ บ.มหาชัย หมู่ 2 ต.มหาชัย อ.ปลาปาก

10 กศน.ตำบลนามะเขือ บ.แสนสำราญ หมู่ 10 ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก

11 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านหนองบัวคำ บ.หนองบัวคำ หมู่ 8 ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก

12 กศน.ตำบลกุตาไก้ บ.กุตาไก้ หมู่ 4 ต.กุตาไก้ อ.ปลาปาก

13 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านดอนดู่ บ.ดอนดู่ หมู่ 3 ต.กุตาไก้ อ.ปลาปาก

14 กศน.ตำบลหนองฮี บ.หนองฮี หมู่ 12 ต.หนองฮี อ.ปลาปาก

15 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านผักอีตู่ บ.ผักอีตู่ หมู่ 5 ต.หนองฮี อ.ปลาปาก

16 กศน.ตำบลหนองเทาใหญ่ บ.หนองเทาน้อย หมู่ 2 ต.หนองเทาใหญ่







จำนวนแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในชุมชนมี จำนวน 25 แห่ง

ที่ ชื่อแหล่งเรียนรู้ สถิติการใช้แหล่งเรียนรู้

(จำนวนครั้ง / ผู้ใช้บริการ/ปี)

1 ห้องสมุดประชาชนอำเภอปลาปาก 360/22,600

2 กศน.ตำบลปลาปาก 75/310

3 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านวังสิม 65/265

4 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านปลาปากน้อย 63/165

5 กศน.ตำบลโคกสว่าง 80/180

6 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านโพนสวาง 50/120

7 กศน.ตำบลโคกสูง 53/120

8 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านนกเหาะ 56/378

9 กศน.ตำบลมหาชัย 122/681

10 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านห้วยไหล่ 50/120

11 กศน.ตำบลนามะเขือ 48/245

12 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านหนองบัวคำ 51/182

13 กศน.ตำบลกุตาไก้ 90/170

14 ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านดอนดู่ 60/170

15 กศน.ตำบลหนองฮี 25/284

16 กศน.ตำบลหนองเทาใหญ่ 43/120

17 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 16/240

18 ศูนย์ฝึกอาชีพช่างเงินช่างทอง 12/120

19 วัดหลวงปู่อวน 52/104

20 วัดพระธาตุมหาชัย 99/260

21 ศูนย์ศิลปาชีพบ้านทันสมัย 60/168

22 โครงการพระราชดำริหนองปลาค้อเฒ่า 15/225

23 ฟาร์มตัวอย่างบ้านวังกะเบา-นาสีนวล 32/184

24 โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ 50/600

25 วัดป่าอรัญญคาม (วัดป่ามหาชัย) 45/800

การวิเคราะห์ SWOT ของสถานศึกษา



การวิเคราะห์หาจุดแข็งและจุดอ่อนของสถานศึกษาโดยใช้วิธีการ SWOT ใน การตรวจสอบ เพื่อหาวิธีการที่จะทำงานให้ไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ตลอดจนหาหนทางในการควบคุมจุดอ่อนไม่ให้เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นน้อยที่สุดซึ่งจะช่วยให้สถานศึกษามีทิศทางในการทำงานและมีความมั่นใจมากขึ้น



ปัจจัยภายในสถานศึกษา

จุดแข็ง(S) จุดอ่อน(W)

ความสอดคล้องของปรัชญา พันธกิจ กลยุทธ์ กับพ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และนโยบายของต้นสังกัด

การจัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของชุมชน

ผู้บริหารและบุคลากร มีความตั้งใจ ทุ่มเท ในการปฏิบัติงาน

ผู้บริหารและบุคลากรมีความพร้อมที่จะทำงาน

ผู้บริหารและบุคลากร สามารถปฏิบัติตน ทำงานกับหน่วยงานชุมชน เครือข่ายทุกภาคส่วน ได้อย่างกลมกลืน

บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

จัดกิจกรรมสร้างขวัญ และกำลังใจ ในโอกาสต่างๆ

ได้ไปศึกษาดูงาน เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ

มีสื่อ เอกสาร อุปกรณ์ และสื่อเทคโนโลยี สนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ

มีการบริหารแบบมีส่วนร่วม และมีระบบ

มีระบบการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีต่อเนื่อง

มีการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ

มีการทำงานร่วมกับเครือข่าย

มีการกำหนดบทบาท หน้าที่ของบุคลากรอย่างชัดเจน

มีการนำเทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ระบบการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษายังไม่ค่อยต่อเนื่อง

สถานศึกษาขาดการประเมินผลการใช้หลักสูตรในการพัฒนาผู้เรียนเพื่อการประกันคุณภาพของหลักสูตรที่เป็นมาตรฐาน

ครูขาดทักษะเฉพาะด้าน ในการทำหลักสูตร เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การทำแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ การวัดผล ประเมินผล การจัดทำแบบทดสอบ การออกแบบ

การเรียนรู้การออกแบบใบงาน และการทำวิจัยใน

ชั้นเรียน

บุคลากรรู้สึกไม่มั่นคงในอาชีพ เพราะเป็นตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว และมีฐานะทางเศรษฐกิจ ไม่ดี

ระบบสารสนเทศบางงานดำเนินการไม่ต่อเนื่อง

อัตรากำลังของบุคลากรไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติงาน และไม่เป็นไปตามโครงสร้าง

บุคลากรมีบทบาทหน้าที่ ภารกิจที่หลากหลาย งานด้านธุรการ การประสานงานในพื้นที่ร่วมกับชุมชนและเครือข่าย และจัดกิจกรรมในศูนย์การเรียนชุมชน และชุมชน ส่งผลให้การปฏิบัติไม่สอดคล้องกับเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนด

ปัจจัยภายนอกสถานศึกษา

โอกาส (O) อุปสรรค (T)



ชุมชน และองค์กรชุมชนเห็นความสำคัญของการศึกษา มีผู้สนับสนุนที่หลากหลายจากภาครัฐ ภาคเอกชน และศิษย์เก่า

การคมนาคมและการติดต่อสื่อสารที่สะดวก และเป็นเมืองผ่านไปทางภาคใต้ ภาคกลาง

มีทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นเอกลักษณ์ ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี

รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้

พ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ. 2542 กระจายอำนาจทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมองเห็นความสำคัญและจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นมากขึ้น

ผู้ปกครองและนักศึกษาและนักศึกษายังเห็นความสำคัญของการศึกษาในระบบมากกว่าการศึกษานอกระบบ

นโยบายของต้นสังกัดเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

นโยบายปรับลดอัตราของภาครัฐทำให้สถานศึกษาขาดแคลนบุคลากร

กลุ่มเป้าหมายไม่มีเวลาที่เรียนต่อในเวลายาวนาน เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ไม่มีอาชีพที่แน่นอนและไม่เป็นหลักแหล่ง ต้องหาเช้ากินค่ำ จึงไม่มีเวลาที่จะมาเรียน มาฝึกปฏิบัติทักษะอาชีพได้นานๆ เพราะต้องหารายได้ในการครองชีพแต่ละวัน



























เป้าหมายการจัดการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน กศน. อำเภอปลาปาก



1. ให้ผู้เรียนมีศักยภาพ ด้านการคิด วิเคราะห์ และบูรณาการให้สอดคล้องกับชีวิต ชุมชน และสังคมได้

2. ให้ผู้เรียนมีศักยภาพเพียงพอต่อการศึกษาต่อ

3. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถในการผลิตด้านการเกษตร ให้มี ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

4. พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคมได้อย่างมีความสุข ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยอนุรักษ์และสืบสานความเป็นไทยของท้องถิ่นให้คงไว้









































ทิศทางการจัดการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐาน



จากการที่ศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เอกสารประกอบหลักสูตร และข้อมูลความต้องการพัฒนาของจังหวัด อำเภอ ชุมชน จึงนำสิ่งที่ได้ศึกษาเหล่านี้ มาพิจารณากำหนดทิศทางการจัดการศึกษานอกระบบของสถานศึกษา โดยกำหนดโครงสร้างทิศทางการจัดศึกษา ไว้ดังนี้



ปรัชญา “คิดเป็น”

ปรัชญา “คิดเป็น” มีแนวคิดภายใต้ความเชื่อที่ว่า “คนเราสามารถพัฒนาการคิด การตัดสินใจ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้ ด้วยการฝึกทักษะการใช้ข้อมูลที่หลากหลายทั้งด้านตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และวิชาการมาวิเคราะห์ เชื่อมโยง สัมพันธ์ สร้างสรรค์ เป็นแนวทาง วิธีการ สำหรับตนเอง แล้วประเมินตีค่า ตัดสินใจเพื่อตนเอง และชุมชน สังคม ซึ่งเป็นลักษณะของคน “คิดเป็น”



วิสัยทัศน์

ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ภายในปี 2553



พันธกิจ

เพื่อให้การดำเนินงานจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นไปตามวิสัยทัศน์ และสอดคล้องกับปรัชญา “คิดเป็น” มีพันธกิจ ดังนี้

1. การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

3. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

4. การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน

5. การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การทำวิจัยในชั้นเรียน กศน.อำเภอปลาปาก

ความก้าวหน้าการทำวิจัยในชั้นเรียน กศน.อำเภอปลาปาก

1.แกนนำทีมวิจัย กศน.อำเภอปลาปากเข้ารับการอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียน


 
2.ประชุมบุคลากรติดตามความก้าวหน้าเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำวิจัยในชั้นเรียน
 
 
 
 
 
3.ชี้แจงในที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อแจ้งรายละเอียดการทำวิจัยในชั้นเรียนของสถานศึกษา พร้อมข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการสถานศึกษา
 
 
 
 
 
 
  4.ครู กศน.นำเครื่องมือ นวัตกรรมที่ใช้ในงานวิจัยแก้ไขปัญหาของผู้เรียนในพื้นที่  
   
             


 



5.นำข้อมูลจากการใช้เครื่องมือและนวัตกรรม
ของครูแต่ละคน นำมาแลกเปลี่ยนในที่ประชุม
ในทุกวันจันทร์ของสัปดาห์

แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กศน.ปลาปาก

โครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน


1. ชื่อปัญหาการวิจัย

สร้างชุดฝึกทักษะการใช้ภาษาไทยด้วยบทเพลง เพื่อพัฒนาการอ่าน เขียน หลักการใช้ภาษา นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของ กศน.ตำบลโคกสูง

2. ความสำคัญของปัญหา

จากการสอนผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น วิชาภาษาไทย พบว่า ผู้เรียนอ่าน เขียนผิด และใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง สาเหตุเนื่องจากนักศึกษาเป็นผู้สูงอายุ มีปัญหาในด้านสายตา (สั้น ยาว) การได้ยิน ไม่สามารถจดจำสระ พยัญชนะ เมื่อทดสอบให้อ่าน เขียนจะใช้เวลาในการจดจำสระ พยัญชนะการเขียนต้องใช้เวลาในการทบทวน ซึ่งใช้เวลานานในการอ่านและเขียน การที่นักศึกษาอ่าน เขียนและใช้หลักภาษาไทยไม่ถูกต้อง ก็จะเป็นปัญหาในการเรียนในรายวิชาอื่นๆต่อไป ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นว่าถ้าใช้กระบวนการวิจัยที่สามารถทำให้ผู้เรียนสามารถทบทวนบทเรียนที่ง่ายต่อการจดจำ สามารถสะกดคำในการอ่าน และเขียนคำต่างๆได้อย่างถูกต้องโดยผู้เรียนเองไม่เกิดความเบื่อหน่ายที่จะเรียนรู้ หากใช้วิธีการสอนแบบเดิมก็อาจจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายและท้อแท้ในการเรียนได้ ผู้วิจัยจึงได้คิดนวัตกรรมที่จะใช้แก้ไขปัญหาด้านการอ่าน เขียน และการใช้หลักภาษาไทยไม่ถูกต้อง ขึ้น

3. วัตถุประสงค์การวิจัย

3.1 เพื่อสร้างชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

3.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

4. ตัวแปรที่ศึกษา

4.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การเรียนรู้จากชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง

4.2 ตัวแปรตามได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง

5. นิยามคำศัพท์เฉพาะ

5.1 ชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง หมายถึง

5.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หมายถึง

5.3 นักศึกษา หมายถึง ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 1/53 ของ กศน.ตำบลโคกสูง ซึ่งมีปัญหาในการอ่าน เขียน และใช้หลักภาษาไม่ถูกต้อง จำนวน 10 คน


6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

6.1 ได้ชุดฝึกชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

6.2 นักศึกษามีความสามารถในการอ่านดีขึ้น

6.3 นักศึกษามีความสามารถในการเขียนดีขึ้น

6.4 นักศึกษาสามารถอ่านคำและเขียนคำในภาษาไทยได้ถูกต้องมากขึ้น

7. วิธีดำเนินการวิจัย/วิธีดำเนินการแก้ปัญหา

7.1 ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา

ประชากร คือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กศน.ตำบลโคกสูง ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 1/53 จำนวน 30 คน

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กศน.อำเภอปลาปากที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทย ภาคเรียนที่ 1/53 ที่มีปัญหาในการอ่าน เขียนและใช้หลักภาษาไม่ถูกต้อง จำนวน 10 คน

7.2 เครื่องมือที่ใช้

ก. เครื่องมือแก้ปัญหา/แนวทางแก้ปัญหา คือ ชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้

1) สร้างแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน

2) สร้างชุดฝึกทักษะภาษาไทยด้วยบทเพลง

- เพลง การใช้สระใอ (ไม้ม้วน)

- เพลง คำ ร ล

- เพลง คำควบกล้ำ

- เพลง คำควบไม่แท้

- เพลง การใช้ บัน บรร

- เพลง การใช้วรรณยุกต์

- เพลง การใช้ ฤ ฤๅ

- เพลง มาตราแม่กด

- เพลง คำพ้องรูป

- เพลง คำที่ใช้วิสรรชนีย์

- เพลง เรื่องคำพ้อง

- เพลง คำแผลง

- เพลง ประโยค

- เพลง คำเป็น คำตาย

ข. เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบทดสอบ แบบประเมินการอ่านและเขียน มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้

1) สร้างแบบทดสอบเพื่อวัดการอ่าน เขียน หลักการใช้ภาษา

2) แบบประเมินการอ่าน เขียน และหลักการใช้ภาษา

7.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้แบบประเมินการฝึกทักษะเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาที่มีปัญหาในการอ่าน เขียนและใช้หลักภาษาไทยไม่ถูกต้อง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 10 คน

7.4 การเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

ใช้ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ

8. แผนดำเนินการ

1) วางแผนและเขียนโครงร่าง 60 นาที/วัน

2) ปฏิบัติการตามแผน 60 นาที/วัน

3) เก็บข้อมูล 30 นาที/วัน

4) วิเคราะห์ 30 นาที/วัน

5) สรุปผลและเขียนรายงาน 60 นาที/วัน

9. ชื่อผู้เสนอโครงการวิจัย

นางอักษร คำถา ครูอาสาสมัคร กศน.อำเภอปลาปาก



โครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน

1. ชื่อปัญหาการวิจัย

การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป วิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักศึกษา กศน.ตำบลโคกสูง

2. ความสำคัญของปัญหา

จากการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของนักศึกษา กศน.ตำบลโคกสูง พบว่า ตรงกับช่วงฤดูทำนานักศึกษาส่วนใหญ่ต้องประกอบอาชีพของตนเองเป็นหลักเมื่อนัดหมายให้มาพบกลุ่มไม่สามารถมาพบกลุ่มตามกำหนดได้ ซึ่งจะเป็นปัญหาในการเรียนการสอนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ยาก หากปล่อยให้เป็นปัญหาเนิ่นนานไปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาจะต่ำหรือประเมินผลปลายภาคเรียนไม่ผ่านทำให้นักศึกษาเกิดความท้อแท้ส่งผลให้การลงทะเบียนไม่ต่อเนื่องหรืออาจขาดสอบได้

3. วัตถุประสงค์การวิจัย

3.1 เพื่อสร้างบทเรียนสำเร็จรูป วิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต 3.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น

4. ตัวแปรที่ศึกษา

ในการวิจัยในครั้งนี้ ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย

4.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

4.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป

5. นิยามคำศัพท์เฉพาะ

5.1 บทเรียนสำเร็จรูป หมายถึง

5.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หมายถึง

5.3 นักศึกษา หมายถึง ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1/53 ของ กศน.ตำบลโคกสูง จำนวน 2 คน

6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

6.1 ได้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

6.2 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิตดีขึ้น

6.3 นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิตดีขึ้น


7. วิธีดำเนินการวิจัย/วิธีดำเนินการแก้ปัญหา

7.1 ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา

ประชากร คือ นักศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น กศน.ตำบลโคกสูง หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 2 คนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1/53 โดยศึกษากับประชากรทั้งหมด

7.2 เครื่องมือที่ใช้

ก. เครื่องมือแก้ปัญหา/แนวทางแก้ปัญหา คือ บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้

1) ศึกษาข้อมูลจากสภาพปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษา

2) วิเคราะห์เนื้อหาตามหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์

3) กำหนดโครงร่างของบทเรียนสำเร็จรูป

4) เขียนสาระต่างๆของบทเรียนสำเร็จรูปตามโครงร่าง

5) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพบทเรียนสำเร็จรูป

6) ปรับปรุงบทเรียนสำเร็จรูปและจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป

ข. เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน แบบทดสอบย่อย มีขั้นตอนการสร้าง ดังนี้

1) ให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนตามเนื้อหาที่กำหนดให้ศึกษาจากบทเรียนสำเร็จรูป

2) ให้ศึกษาตามบทเรียนสำเร็จรูป ทำแบบทดสอบย่อยแต่ละเนื้อหาพร้อมเฉลยไปในตัว โดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง

3) ทำแบบทดสอบหลังเรียนหลังจากใช้บทเรียนสำเร็จรูป



7.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล

โดยให้นักศึกษาตอบแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป

7.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

ใช้ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย

8. แผนดำเนินการ

1) วางแผนและเขียนโครงร่าง 60 นาที/วัน

2) ปฏิบัติการตามแผน 60 นาที/วัน

3) เก็บข้อมูล 30 นาที/วัน

4) วิเคราะห์ 30 นาที/วัน

5) สรุปผลและเขียนรายงาน 60 นาที/วัน

9. ชื่อผู้เสนอโครงการวิจัย

นายพูลสวัสดิ์ คำถา ครูศรช. กศน.ตำบลโคกสูง